คลังความรู้

Everyday knowledge for you

ข่าวทั่วไป

หลังเลิกงาน-วันหยุด มหาเศรษฐีอย่าง ‘วอร์เรน บัฟเฟตต์’ ทำอะไร

30/04/2024

ส่อง 5 กิจวัตรที่มหาเศรษฐีนักลงทุน “วอร์เรน บัฟเฟตต์” ชอบทำหลังเลิกงาน-วันหยุด ตั้งแต่ อ่านหนังสือ ออกกำลังกาย เล่นไพ่ ไปจนถึง เล่นอูคูเลเล่และแต่งเพลง ชื่อของ “วอร์เรน บัฟเฟตต์” มหาเศรษฐีนักลงทุน เจ้าของบริษัท เบิร์กเชียร์แฮทาเวย์ (Berkshire Hathaway) กลุ่มโฮลดิ้งส์ข้ามชาติ จากอเมริกา คงเป็นชื่อที่น้อยคนจะไม่รู้จัก เพราะเขาเป็นผู้ทรงอิทธิพลในด้านธุรกิจ การลงทุน และ “นักบริจาคเงินเพื่อการกุศล” ตัวยงแล้ว และยังเป็นบุคคลที่ร่ำรวยเป็นอันดับ 3 ของโลก จากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส แต่แม้จะร่ำรวยและมั่งคั่งแค่ไหน นิสัยของการประหยัดอดออม ก็เป็นอีกหนึ่ง “นิยาม” ของตัวเขา โดยที่ผ่านมา นิตยสารนับไม่ถ้วน ทั้ง Motley Fool, The Wall Street Journal และ Business Insider มีโอกาสได้เข้าไปสัมภาษณ์บัฟเฟตต์ และตีพิมพ์เส้นทางความร่ำรวยของเข้า แต่ที่น่าแปลกใจ คือไม่เคยมีบทความไหนเคยเขียนเลยว่า เขาใช้เวลาว่างส่วนใหญ่หลังเลิกงานทำอะไร? จริงๆ บัฟเฟตต์ เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า งานอดิเรกที่เขาชอบทำนั้น เป็นกิจกรรมที่ล้วนมีผลกับธุรกิจของเขามากพอสมควร และน่าเสียดายที่ในโลกแห่งการแข่งขันและโลกของธุรกิจ ผู้คนส่วนใหญ่มักให้ความสนใจกับการบริหารงานของเขา มากกว่างานอดิเรกที่เขาทำหลังเลิกงานเสียอีก ดังนั้น ทั้ง 5 ข้อด้านล่างคือกิจกรรมหลังเลิกงานที่มหาเศรษฐีอย่างบัฟเฟตต์ชอบทำ จากการรวบรวมข้อมูลจากบทสัมภาษณ์ของเขาจำนวนมาก1. อ่านหนังสือ 500 หน้า งานวิจัยจำนวนมากเผยว่าหากเราต้องการมีความรู้และฉลาดมากขึ้น เราควรเพิ่ม “อาหารสมอง” ให้ตัวเองด้วยการอ่านหนังสือวันละ 500 หน้าและก็เป็นไปตามที่คิดว่า บัฟเฟตต์ก็ใช้เวลากว่า 80 เปอร์เซ็นต์ของวันไปกับการอ่านหนังสือในที่ทำงาน โดยอ่านหนังสือหลากหลายประเภท ทั้งหนังสือเกี่ยวกับการเงินและบรรดานิตยสารต่างๆ รวมทั้งใช้เวลาไปกับการอ่านหนังสือพิมพ์หรือหนังสืออื่นๆ หลังเลิกงานด้วย “ผมใช้เวลาในการอ่านและการคิดให้มากขึ้น และใช้เวลาในตัดสินใจสิ่งต่างๆให้ช้ากว่านักธุรกิจส่วนใหญ่”  2. ออกกำลังกายบ้าง บัฟเฟตต์ เล่าความลับของเขาให้ฟังว่า มักจะตามใจตัวเองในเรื่องการกิน โดยกินอาหารทุกอย่างที่อยากกิน ซึ่งเขาดื่มโค้กวันละ 5 กระป๋อง (เพราะเขาเป็นหนึ่งในหุ้นส่วนบริษัท Coca) นอกจากนี้ แฮมเบอร์เกอร์ สเต๊ก มันบด และรูทเบียร์ ก็เป็นอาหารอันโอชะที่เขาชอบกินอีกด้วย โดยในปี 2550 แพทย์กำชับและแนะนำกับเขาว่า ถ้าเขาอยากจะมีชีวิตที่ยืนยาวและร่างกายที่แข็งแรงนั้น “ต้องเลือกว่าจะออกกำลังกาย หรือทานอาหารที่ดี” จนท้ายที่สุดเขาก็เลือกที่จะออกกำลังกายแทนการเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ น่าสนใจว่า ในปี 2558  แพทย์ตรวจพบว่าบัฟเฟตต์เป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก แต่ทุกวันนี้เขาก็ยังดูสุขภาพดีทุกครั้งที่ออกมาให้สัมภาษณ์ 3. ทำตัวให้มีความสุข บัฟเฟตต์นับเป็นหนึ่งคนที่มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ โดยหลายคนเรียกเขาว่าเป็น “นักบุญที่ยิ่งใหญ่” ส่วนหนึ่งเป็นเพราะเขาต้องการเดินตามเส้นทางของฮีโร่ในดวงใจอย่าง ชัค ฟีนีย์ (Chuck Feeney) นักธุรกิจและนักบุญผู้ยิ่งใหญ่ที่สละทรัพย์สินในบั้นปลายชีวิต “หากคุณเป็น 1 เปอร์เซ็นต์ของมวลมนุษย์ที่โชคดีที่สุด แปลว่าคุณต้องมีหน้าที่ช่วยเหลือผู้คนอีก 99 เปอร์เซ็นต์ที่เหลือ” นอกจากนี้ บัฟเฟตต์ก็ยังมีชื่อเสียงด้าน “ความพอมีพอกิน” เช่นกัน โดยเขาใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และอยู่บ้านหลักเดิมที่ซื้อมาเมื่อหลายสิบปีที่แล้ว  อีกทั้งเขาเองก็มักจะดูแลลูกค้าด้วยมื้ออาหารจาก “แมคโดนัลด์” เท่านั้น 4. เล่นเกมที่ต้องใช้ความอดทน มหาเศรษฐีผู้นี้ชอบเล่นเกมมาก แต่ต้องเป็นเกมที่ต้องใช้ความคิดและเกมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนเพราะช่วยให้เขาได้ลองฝึกใช้สมองและความคิดก่อนลงสนามจริง ที่สำคัญเขายังชอบเล่น ไพ่บริดจ์ อีกด้วย โดยที่ผ่านมา เขาเคยจ่ายเงินกว่า 7 เหรียญ ที่ Omaha strip mall เพื่อพยายามล้มแชมป์เก่า จากนั้นบัฟเฟตต์จึงออกมากล่าวว่า “ไพ่บริดจ์เป็นเกมที่ใช้สมองฝึกสมองได้ดีทีเดียว เพราะนอกจากจะได้เจอและแก้ไขสถานการณ์ใหม่ๆ ทุก 10 นาทีแล้ว เรายังต้องฝึกใช้สมองเพื่อคิดคำนวณตลอดการเล่นด้วย” 5. ทำงานอดิเรกที่ชอบ บัฟเฟตต์รักงานอดิเรกของตัวเองมาก โดยคุณคงไม่เชื่อแน่นอนว่า เขารักการเล่นอูคูเลเล่มาก จนกระทั่งสามารถแต่งเพลงให้ตัวเอง และร้องประสานเสียงกับบอนโจวี (Bon Jovi) เป็นวงฮาร์ดร็อกจาก นิวเจอร์ซี  อีกทั้งเพลงนี้ยังปรากฏอยู่ในโฆษณา Coca ที่บัฟเฟตต์เป็นหุ้นส่วนอีกด้วย หลังจากนั้น บัฟเฟตต์จึงนำรายได้จากการเล่นเพลงของตัวเองกับวงดนตรีดังกล่าวไปบริจาคให้กับการกุศล อ้างอิง Entrepreneur แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจhttps://www.bangkokbiznews.com/health/social/1080763

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันสุขภาพ

คปภ.ปลดล็อก “ประกันสูงวัย” กรมธรรม์แบบใหม่ไม่ต้อง “แถลงสุขภาพ”

30/04/2024

ผู้สูงอายุเฮ ! คปภ.ไฟเขียวบริษัทประกันขายกรมธรรม์ใหม่ “ไม่ต้องแถลงสุขภาพ” ระบุคุ้มครองทั้งกรณี “เสียชีวิตจากอุบัติเหตุ-ค่ารักษาพยาบาลจาก 9 โรคร้ายแรง” ปลดล็อกแก้ปัญหา “สูงวัย” ถูกปฏิเสธทำประกันสุขภาพ/จ่ายเบี้ยแพงนายอาภากร ปานเลิศ ผู้ช่วยเลขาธิการสายกำกับผลิตภัณฑ์ประกันภัย สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สำนักงาน คปภ.ได้สำรวจข้อคิดเห็นจากผู้เกี่ยวข้องทั้งโรงพยาบาลเอกชน ตัวแทนนายหน้า บริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย เกี่ยวกับการดำเนินการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ เนื่องจากที่ผ่านมากลุ่มผู้สูงอายุจะมีประเด็นปัญหาขอทำประกันสุขภาพได้ค่อนข้างยาก หรือมักจะถูกบริษัทปฏิเสธการรับประกันสุขภาพ เนื่องจากผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัวรวมทั้งสัญญาประกันสุขภาพแบบมาตรฐานใหม่ เป็นสัญญาที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกโรค จึงส่งผลให้เบี้ยประกันค่อนข้างแพง และบริษัทประกันก็ยังไม่มีการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันสุขภาพที่ออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุอาภากร ปานเลิศโดยจากการสำรวจความคิดเห็น พบว่าประเด็นปัญหาหลัก ๆ มีอยู่ 7 เรื่องคือ 1.ผู้สูงอายุส่วนใหญ่มักจะมีปัญหาสุขภาพ หรือมีโรคประจำตัว ส่งผลให้เบี้ยประกันมีราคาสูง และติดปัญหาในการผ่านเกณฑ์การพิจารณารับประกัน 2.การการันตีการรับประกันสุขภาพ ส่งผลให้บริษัทต้องเข้มงวดในการพิจารณารับประกัน และต้องกำหนดอัตราเบี้ยประกันให้ครอบคลุมความเสี่ยงระยะยาว3.ผู้สูงอายุมักจะปกปิดข้อมูลสุขภาพ ไม่แถลงข้อมูลสุขภาพ หรือแถลงไม่ครบ ซึ่งอาจเข้าเงื่อนไขให้ถูกปฏิเสธการทำประกันสุขภาพ 4.บริษัทมีข้อมูลสถิติการทำประกันสุขภาพผู้สูงอายุค่อนข้างน้อย เพราะมีการทำประกันสุขภาพกันน้อย จึงไม่สามารถอ้างอิงข้อมูลสถิติการรับประกันเพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันให้เหมาะสมกับผู้สูงอายุได้5.อัตราเงินเฟ้อ ค่ารักษาพยาบาลเพิ่มสูงขึ้นเป็นอย่างมาก 6.ปัญหาเรื่องการเปิดเผยประวัติของลูกค้า และความร่วมมือของโรงพยาบาลในการอำนวยความสะดวกกับลูกค้าในการเปิดเผยประวัติ และ 7.การทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิต ต้องมีความคุ้มครองการเสียชีวิต ทำให้ผู้สูงอายุต้องจ่ายค่าเบี้ยประกันในส่วนนี้ค่อนข้างมาก“จากการประชุมหารือร่วมกับคณะที่ปรึกษาทางการแพทย์ของสำนักงาน คปภ. ได้ข้อสรุปว่า ควรจัดทำเป็นกรมธรรม์ประกันภัยคุ้มครองการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ และคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากโรคร้ายแรง ส่วนบุคคล สำหรับผู้สูงอายุ แบบไม่ต้องแถลงสุขภาพโดยกำหนดเป็นกรมธรรม์ประกันอุบัติเหตุ เพื่อให้เสนอขายได้ทั้งบริษัทประกันชีวิตและบริษัทประกันวินาศภัย โดยไม่จำเป็นต้องซื้อประกันชีวิต (สัญญาหลัก) ก่อน และกำหนดแผนความคุ้มครอง ที่มุ่งเน้นเฉพาะกลุ่มโรคร้ายแรงสำคัญสำหรับผู้สูงอายุ เพื่อให้เบี้ยประกันลดลง”โดยแผนความคุ้มครองจะมีกลุ่มโรคร้ายแรง 9 รายการ ได้แก่ 1.มะเร็ง 2.หลอดเลือดหัวใจตีบที่รักษาด้วยการสวนหลอดเลือดหัวใจ 3.เส้นเลือดหัวใจตีบ 4.การผ่าตัดเส้นเลือดเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจ 5.กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน 6.ไตเรื้อรัง 7.การผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะ หรือการปลูกถ่ายไขกระดูก 8.หลอดเลือดสมองแตกหรืออุดตัน และ 9.เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็งและเนื่องจากเป็นการพิจารณารับประกันแบบไม่ต้องตรวจสุขภาพ จึงกำหนดให้มีระยะเวลารอคอย (waiting period) 180 วัน ซึ่งในเงื่อนไขสัญญาประกันสุขภาพแบบมาตรฐาน ให้กำหนด waiting period ที่ 30 วัน หรือ 120 วัน สำหรับบางโรค“ปัจจุบัน เรื่องนี้ได้เสนอให้ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. ในฐานะนายทะเบียน ลงนามออกประกาศไปแล้ว เมื่อเดือน ก.ค. 2566 ที่ผ่านมา”นายอาภากรกล่าวอีกว่า คณะอนุกรรมการกำกับและพัฒนาธุรกิจประกันภัย มีข้อเสนอแนะว่า กรมธรรม์ดังกล่าวให้ความคุ้มครอง เฉพาะกรณีที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคร้ายแรงครั้งแรกซึ่งไม่ครอบคลุมกับกลุ่มผู้สูงอายุที่เคยป่วยเป็นโรคร้ายแรงมาก่อนการทำประกัน ซึ่งปัจจุบันรักษาหายแล้ว หรือได้รับการวินิจฉัยแล้วว่าโรคอยู่ในภาวะสงบแล้ว จึงมอบหมายให้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ครอบคลุมกรณีดังกล่าวด้วย“ตอนนี้ คปภ.ก็อยู่ระหว่างเสนอร่างกรมธรรม์ลักษณะเดียวกัน แต่เป็นแบบที่ต้องแถลงสุขภาพ เพื่อให้ครอบคลุมผู้สูงวัยทั้งหมด คาดว่าจะเร่งดำเนินการออกคำสั่งนายทะเบียนภายในเดือน ส.ค.นี้ แต่ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีกี่บริษัทประกันที่สนใจ เพราะโดยปกติแล้ว ทางบริษัทประกันมักจะเริ่มพูดคุยกันภายหลังจากออกคำสั่งไปแล้ว อย่างไรก็ตาม ตอนออกแบบได้มีการพูดคุยกับทุกบริษัทแล้ว” นายอาภากรกล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1365622

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

7 อุปนิสัย “first jobber-นักลงทุนมือใหม่” ต้องมี ! สำเร็จแน่

30/04/2024

สวัสดีครับ Prachachat Wealth เล่าเรื่องการลงทุน EP นี้ เอาใจเหล่ามนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่ หรือว่า first jobberที่สนใจเรื่องของการเงินการลงทุน แต่ยังไม่รู้ว่าจะเริ่มต้นวางแผนการลงทุนอะไรดี ที่ใช้เงินลงทุนไม่กี่บาท เพราะในโลกการเงินการลงทุน เครื่องมือตัวช่วยสำหรับการออมและการลงทุนมีหลากหลายนะครับซึ่งวันนี้ Prachachat Wealth มีโอกาสได้พูดคุยกับหนึ่งในกูรูนักวางแผนการเงินไทย ท่านดำรงตำแหน่งเป็น ผศ.ดร.ธนาวัฒน์ สิริวัฒน์ธนกุล อาจารย์ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และยังเป็นหนึ่งในคณะกรรมการ ของสมาคมนักวางแผนการเงินไทยQ : มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งจบใหม่ ควรวางแผนลงทุนอะไรดี ที่ยังพอมีเงินเหลือใช้สำหรับมนุษย์เงินเดือน ที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน first jobber อันแรกในเรื่องลงทุน ผมอยากจะให้ทุกคนลองเปลี่ยน mindset ก่อน เพราะต่อไปนี้คำว่าลงทุน เราจะไม่ได้หมายถึงว่า “เหลือเงินแล้วค่อยมาลงทุน” แต่ในทางการเงินโดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของ financial planning การวางแผนการเงิน เราบอกว่าลงทุนเราควรจะกันเงินก่อนที่จะใช้จ่าย เอามาลงทุนลงทุนของเราแปลว่า เฉลี่ย ๆ เงินที่เราใส่เข้าไปในทางเลือกที่เรากำลังสนใจออกมาต้องเพิ่มขึ้น แต่ผมใช้คำว่าเฉลี่ยนะครับ เพราะฉะนั้นแปลว่าอะไร ไม่ได้การันตีนะครับว่าทุกครั้งที่เราลงทุน เราต้องได้เงินเพิ่มขึ้นเสมอ นี่เราถึงบอกว่าการลงทุนมีความเสี่ยงพอเรารู้แล้วลงทุนคืออะไร อันดับถัดมาเราจะมาวางแผนลงทุน พูดง่าย ๆ เลยคือการที่ผมจะทำให้ตัวของเราเองหรือว่าตัวของคนที่เราไปวางแผนให้ ใช้ 2 คำเลยว่า “กินเต็มและก็นอนหลับ”เพราะฉะนั้นวางแผนลงทุนทำให้คุณบรรลุเป้าหมาย แต่บรรลุแล้วต้องไม่ใช่ว่าในระหว่างที่วางแผนอยู่ เราไม่เป็นอันทำการทำงานเลยเพราะฉะนั้นนั่นแปลว่าผมก็จะต้องรู้อีกอย่างหนึ่งแล้วว่าตัวของเรา เรามีระดับของการยอมรับความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน เราทนต่อความเสี่ยงได้มากน้อยแค่ไหน เพราะฉะนั้นพวกนี้เขาก็อาจจะดูจากพวกความสามารถ เพิ่งจบ อายุยังน้อย ความสามารถในการรับความเสี่ยงเราอาจจะดี แต่เราก็ต้องดูความเต็มใจด้วย เราเต็มใจที่จะรับความเสี่ยงมั้ย เราไม่เคยมีประสบการณ์เลย อยู่ ๆ เอาเงินไปลงทุนในหุ้น อยู่ ๆ เอาไปซื้อตราสารอนุพันธ์ สัญญาซื้อขายล่วงหน้า เราอาจจะนอนไม่หลับก็ได้เพราะฉะนั้นถ้าทำได้อย่างนี้ และเลือกเครื่องมือที่จะทำให้เรากินอิ่มและมีผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูง แน่นอนว่าอันที่หนึ่ง ผม pay yourself first ผมกันเงินก่อนที่จะใช้จ่าย นั่นหมายความว่าอย่างน้อยที่สุด ทุก ๆ เดือน เงินผมพอใช้แน่ ๆ แต่อันที่สอง ถ้าผมรู้จักเลือกเครื่องมือที่เหมาะสมเข้าไปอีก นอกจากเงินพอใช้ เรายังจะมีเงินเหลือใช้อีก แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของสินทรัพย์ที่เราไปลงทุนด้วยนะครับQ : สินทรัพย์แต่ละประเภท มีทั้งเสี่ยงสูงและเสี่ยงต่ำ นักลงทุนหน้าใหม่ ต้องรู้ข้อจำกัดหรือข้อควรระวัง อะไรบ้างถ้าผมอธิบายไล่ตามอัตราผลตอบแทนและความเสี่ยงเลยนะครับ อันที่หนึ่งสินทรัพย์ประเภทที่หลายคนมักจะคุ้นเคยก่อน ก็คือในเรื่องของบัญชีเงินฝาก ข้อจำกัดก็คือ ผลตอบแทนน้อยประมาณสัก 1% อาจจะไม่ทำให้เราบรรลุเป้าหมาย หรืออาจจะทำให้เราไม่มีเงินเหลือใช้ ถ้าผมเพิ่มระดับความเสี่ยงขึ้นมาอีกนิดหนึ่ง ก็คือการลงทุนในตราสารหนี้แต่ข้อจำกัด ถ้าธุรกิจเขาดี เราต้องไม่คาดหวังว่าเราจะได้กำไรเยอะ ๆ ไปกับเขาด้วย เพราะเวลาที่ธุรกิจเขาแย่ เขาก็มีภาระผูกพันต้องจ่ายดอกเบี้ยเราเท่าเดิมเวลาลงทุนในตราสารหนี้ เราจะมีสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ อย่างเช่น ทริส หรือฟิทช์ เรทติ้งส์ ประเทศไทย เขาจะคอยจัดอันดับความน่าเชื่อถือให้เราก่อนทางเลือกที่สาม ถ้าเราอยากได้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปอีก เราอาจจะไปลงทุนในรูปแบบของตราสารทุน หรือที่บางคนชอบเรียกสั้น ๆ ว่า หุ้น นั่นเอง เพราะฉะนั้นเข้าไปลงทุนในหุ้นหรือตราสารทุน ตามชื่อเลยเราเข้าไปเป็นนายทุน เราเข้าไปเป็นเจ้าของ เพราะฉะนั้นสิ่งที่เราได้รับส่วนแบ่งกำไร ในภาษาการเงินเราเรียกว่าเป็นเงินปันผล แต่ลักษณะของเงินปันผล เนื่องจากคือส่วนแบ่งกำไร แปลว่าถ้าเขาไม่กำไร เขาก็อาจจะไม่ได้ปันผลให้เราก็อาจจะมีอีกทางเลือกหนึ่ง เขาเรียกว่าเป็นกองทุนรวม เขาจะเอาทุนของนักลงทุนมากองรวมกัน และให้ผู้บริหารมืออาชีพมาบริษัทแทนให้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของเราอันแรก เลือกกองทุนรวมที่มีนโยบายการลงทุนเหมาะกับเราQ : แม้มนุษย์เงินเดือนที่เพิ่งเริ่มต้นทำงาน จะไม่ได้มีความเชี่ยวชาญการลงทุน แต่อุปนิสัยที่ต้องมี มีอะไรบ้างหนึ่ง ควรจะเป็นคนที่ให้ความสำคัญกับในเรื่องของการออมการลงทุน นั่นแปลว่าเขาต้องรู้จัก pay yourself first ก่อนเลย อุปนิสัยแรก ถ้าเราอยากจะลงทุนให้ประสบความสำเร็จ เราต้องเก็บก่อนใช้ ไม่เอาเงินที่เหลือจากการใช้จ่ายมาลงทุน เพราะนั่นอาจจะทำให้เราไม่มีเงินมาลงทุน อันที่สอง พอเราเก็บก่อนใช้แล้วเราต้องมีการวางแผนการลงทุนล่วงหน้าครับอันที่สาม ต้องรู้จักศึกษาหาความรู้ก่อนลงทุน ไม่ใช่ฟังจากเขาบอกมา อุปนิสัยที่สี่ ต้องรู้จักการกระจายความเสี่ยง ไม่เอาเงินไปลงทุนในสินทรัพย์แค่ประเภทใดประเภทหนึ่งอุปนิสัยที่ห้า ต้องมีวินัยครับ เพราะต้องทำอย่างต่อเนื่อง การลงทุนจะไม่เหมือนเราไปช็อปปิ้ง จ่ายเงินปุ๊บได้ของมาแล้วจบ แต่อาจจะต้องใช้ระยะเวลาเป็นปี ๆ เลยและอันที่หก ต้องใช้เหตุผลในการตัดสินใจลงทุนเสมอ เราจะไม่บอกว่าเห็นมีข่าวลือมา เรากลัวตกรถไฟ รีบไปซื้อหุ้น รีบไปลงทุน มีข่าวลือมาเราก็ตื่นตกใจ เทขาย โดยที่เราไม่ได้ดูข้อมูลเลย เพราะฉะนั้นทุกครั้งที่จะลงทุน เราต้องถามตัวเองเสมอครับว่า เหตุผลอะไรที่ทำให้เราซื้อหลักทรัพย์ตัวนี้และนั่นก็แปลว่าอันที่เจ็ด เราต้องมีการติดตามข้อมูลการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ กองทุน หรือว่าหุ้น หรือว่าตราสารหนี้ ทางเลือกการลงทุนก็เหมือนลูกของเรา เราต้องดูแลเขาไปเรื่อย ๆ เลย ถามว่าดูไปจนเมื่อไหร่ ก็จนเมื่อไหร่ที่ผมไม่ใช่เงิน เพราะฉะนั้นก็คือจนตายครับทั้งหมดนี้ครับคือ 7 อุปนิสัย ที่ผมบอกว่านักลงทุนมือใหม่ เรียกว่าเป็น seven habits ของ first jobber ที่อยากจะลงทุนแล้วบรรลุเป้าหมายแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1364529

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย จัดโครงการ AIA One Billion Trail 2023 การแข่งขันเดิน-วิ่งเทรล ประเภททีม 4 คน เพื่อระดมทุนสนับสนุนสภากาชาดไทย ต่อเนื่องเป็นปีที่ 2

30/04/2024

กรุงเทพฯ 9 สิงหาคม 2566 - เอไอเอ ประเทศไทย นำโดย นายนิคฮิล แอดวานี ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร นายณัฐพิสิษฐ์ ครุฑครองชัย ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต และ นางสาวรพีพร วงศ์ทองคำ ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและภาพลักษณ์ พร้อมด้วย นายวิทยา จันทร์ฉลอง ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักงาน บริหารกิจการเหล่ากาชาด ร่วมเปิดตัวโครงการ AIA One Billion Trail 2023 การแข่งขันเดิน - วิ่งเทรล ประเภททีม 4 คน ซึ่งจัดขึ้นต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมทุนบริจาคให้แก่สภากาชาดไทย ในการนำไปสนับสนุนโครงการส่งเสริมและพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย เพื่อช่วยเหลือเด็กนักเรียนในถิ่นทุรกันดาร ถือเป็นการสานต่อปณิธานในการร่วมพัฒนาศักยภาพเด็กไทย ให้เข้าถึงการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งปีที่ผ่านมา มีนักวิ่งเทรลเข้าร่วมงานกว่า 400 ทีม หรือกว่า 1,600 คนจากทั่วประเทศ สำหรับการแข่งขัน AIA One Billion Trail 2023 จะจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1-3 ธันวาคม 2566 ณ จังหวัดเชียงใหม่ โดยเป็นการแข่งขันประเภททีม ทีมละ 4 คน มีระยะทางให้นักวิ่งได้เลือกลงแข่งทั้งสิ้น 4 ระยะทาง ได้แก่ 100, 50, 25 และ 10 กิโลเมตร  ทั้งนี้ AIA One Billion Trail 2023 เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นของเอไอเอ ที่ต้องการสนับสนุนผู้คนกว่าหนึ่งพันล้านคนทั่วเอเชีย ให้มีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’ โดยมุ่งเน้นการสร้างความสามัคคีและความร่วมมือร่วมใจในหมู่นักกีฬา และยังมีจุดมุ่งหมายในการเสริมสร้างสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจอย่างยั่งยืน ตลอดจนส่งเสริมให้ผู้คนมีวิถีการดำเนินชีวิตแบบผู้รักการออกกำลังกาย (Active Lifestyle) เกิดสังคมแห่งการเรียนรู้ สร้างจิตสำนึกด้านการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงกีฬา (Sports Tourism) ซึ่งนับเป็นกิจกรรมเดิน – วิ่งเทรล ประเภททีมหนึ่งเดียวในประเทศไทย โดยผู้ที่สนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน AIA One Billion Trail 2023 สามารถสมัครได้แล้วตั้งแต่วันนี้ ทางเว็บไซต์ https://aiaonebilliontrail.run/ หรือ สแกน QR Codeสำหรับผู้ที่ต้องการร่วมบริจาคโครงการส่งเสริม และพัฒนาการพูด อ่าน เขียน ภาษาไทย โดยสภากาชาดไทย สามารถร่วมบริจาคได้ทางเว็บไซต์ https://donate.aiaonebilliontrail.run/ หรือสแกน QR Codeหากต้องการศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือติดตามข่าวสารและความเคลื่อนไหวของโครงการ AIA One Billion Trail 2023 สามารถติดตามได้ทางเว็บไซต์ https://aiaonebilliontrail.run/ และ Facebook Fanpage: aiaonebilliontrail

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ข่าวการเงิน

ลงทุนเริ่มไม่ยาก แต่เมื่อลงทุนแล้ว ควรทำอย่างไรต่อ?

30/04/2024

ปัจจุบันการลงทุนในตราสารทางการเงินมีทางเลือกที่หลากหลาย ซึ่งแต่ละประเภทจะมีรูปแบบของผลตอบแทนและความเสี่ยงที่ต่างกันออกไป แต่สิ่งที่ผู้ลงทุนต้องใส่ใจและให้ความสำคัญอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นตราสารประเภทใด นั่นคือ การติดตามข้อมูลข่าวสารรวมถึงความคืบหน้าการดำเนินการของผู้ออกตราสารนั้นใกล้ชิด มาทบทวนเช็กลิสต์กัน  สักนิดไหมว่า หลังจากลงทุนกันไปแล้วควรติดตามอะไรบ้าง เพื่อไม่ให้พลาดประเด็นสำคัญที่อาจส่งผลกระทบต่อพอร์ตการลงทุนของตนเอง 1. การลงทุนในหุ้น –ตราสารที่ออกโดยบริษัทที่ต้องการระดมทุน ผู้ลงทุนจะถือเป็น “เจ้าของกิจการ” ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้ลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด     •  เมื่อบริษัทไม่ส่งงบการเงินตามกำหนด ทำให้ผู้ลงทุนไม่สามารถมีข้อมูลผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของบริษัทไปประกอบการตัดสินใจลงทุนได้     •  เมื่อเกิดปัญหาบางประการเกี่ยวกับงบการเงิน จนส่งผลสู่การถูกสั่งทำ “การตรวจสอบ     แบบพิเศษ”(Special Audit) เพื่อหาข้อเท็จจริงกับประเด็นที่เกิดขึ้น     •  เมื่อสถานประกอบการของบริษัทอยู่ในพื้นที่ที่เกิดวิกฤตด้านการเมือง หรืออื่น ๆ ที่อาจส่งผลให้การดำเนินการของบริษัทขัดข้องและส่งผลต่อราคาหุ้นได้ ผู้ถือหุ้นควร…     •  เตรียมรับมือกับผลกระทบจากเหตุการณ์เช่น อาจขาดทุนจากราคาหุ้นที่ตก หรือได้รับเงินปันผลน้อยลงจากปัจจัยลบที่มากระทบ     •  หมั่นติดตามข้อมูลข่าวสารผ่านช่องทางที่เป็นทางการ รวมถึงการขึ้นเครื่องหมายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย     •  เข้าร่วมประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อร่วมซักถามในประเด็นต่าง ๆ ตามที่มีข้อสงสัย 2. การลงทุนในหุ้นกู้– ตราสารหนี้ที่ออกโดยบริษัทที่ต้องการระดมทุน ผู้ลงทุนจะถือเป็น “เจ้าหนี้” รวมถึงหุ้นกู้คราวด์ฟันดิง ซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีการเสนอขายผ่าน Funding portal โดยผู้ระดมทุนส่วนใหญ่ ผ่านช่องทางนี้จะเป็นกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้ถือหุ้นกู้ควรติดตามอย่างใกล้ชิด     •  เมื่อหุ้นกู้ถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือลงอย่างมีนัยยะสำคัญ     •  เมื่อผู้ออกหุ้นกู้มีผลการดำเนินงานลดลงอย่างมีนัยสำคัญซึ่งอาจส่งผลต่อความสามารถ ในการชำระหนี้ (มีโอกาสที่จะจ่ายดอกเบี้ยไม่ครบจำนวนหรือมีโอกาสผิดนัดชำระหนี้) ผู้ถือหุ้นกู้ควร…     •  หมั่นตรวจสอบว่าตนเองถือหุ้นกู้ชนิดใดและได้รับผลกระทบจากการถูกปรับลดอันดับ   ความน่าเชื่อถือหรือไม่ ทั้งนี้ ผู้ถือหุ้นกู้อาจไม่สามารถขายหุ้นกู้ได้ในทันที รวมถึงอาจ ไม่สามารถขายหุ้นกู้ได้ในราคาที่พึงพอใจ เนื่องจากขาดสภาพคล่องในการซื้อขาย     •  ติดตามข่าวสารในกรณีที่มีข้อสงสัยว่ามีการกระทำผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535ทั้งนี้ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ ไม่ได้ให้อำนาจกับสำนักงาน ก.ล.ต. ในการสั่งการให้บริษัทคืนเงิน     •  ติดตามแผนการแก้ไขเหตุผิดนัดจากผู้ออกหุ้นกู้หรือผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ เมื่อเกิดเหตุผิดนัด ชำระหนี้รวมถึงศึกษารายละเอียดก่อนการประชุมผู้ถือหุ้นกู้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการประชุมเพื่อขอเลื่อนการชำระหนี้ หรือขอผ่อนผันการชำระ     •  ประสานผู้แทนผู้ถือหุ้นกู้ซึ่งจะเป็นบุคคลช่วยติดตามการชำระหนี้ รวมถึงดำเนินการ ตามกฎหมายในการบังคับหลักประกันและการฟ้องร้องดำเนินคดีกรณีที่ประชุมผู้ถือหุ้นกู้ มีมติให้ชำระคืนหุ้นกู้โดยพลัน (call default) 3. การลงทุนในกองทุนรวม– บริษัทหลักทรัพย์จัดการลงทุน (บลจ.) จะนำเงินไปลงทุนในทรัพย์สินต่าง ๆ    ตามนโยบายการลงทุนที่ระบุในโครงการจัดการกองทุนรวมตามสัดส่วน เช่น หุ้น หุ้นกู้ พันธบัตรรัฐบาล เป็นต้น เพื่อกระจายความเสี่ยงและบริหารเงินลงทุนให้เกิดผลตอบแทนจากการลงทุนมาสู่ผู้ถือหน่วยลงทุน ตัวอย่างเหตุการณ์ที่ผู้ถือหน่วยลงทุนควรติดตามอย่างใกล้ชิด     •  เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงในราคาสินทรัพย์ที่กองทุนนำเงินไปลงทุนอย่างมีนัยสำคัญ     •  เมื่อเกิดความผิดปกติกับผู้ออกตราสารหรือตลาดตราสารที่กองทุนรวมลงทุน ผู้ถือหน่วยลงทุนควร…     •  เตรียมรับมือกับความผันผวนของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (NAV) ของกองทุนรวมที่ถือ     •  ศึกษาและทำความเข้าใจกับข้อจำกัดจากการใช้ Liquidity Management Tools (LMTs) โดยแบ่งได้เป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มส่งผ่านต้นทุนการซื้อขายสินทรัพย์ของกองทุนและกลุ่มที่เป็นข้อจำกัดต่อการไถ่ถอนหน่วยลงทุน ทั้งนี้ บลจ. จะพิจารณาความเหมาะสมในการใช้ LMTs เพื่อรักษาประโยชน์ของผู้ลงทุนโดยรวมและใช้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น เช่น เกิดความ ผันผวนของตลาดสินทรัพย์ที่ลงทุน เกิดต้นทุนที่มีนัยสำคัญต่อการซื้อขายสินทรัพย์ ของกองทุน หรือเกิดความผิดปกติกับผู้ออกตราสารและกรณีอื่น ๆ ที่จำเป็น เป็นต้น ด้วยเหตุที่การลงทุนมักมาคู่กับความเสี่ยงเสมอ ผู้ลงทุนควรฝึกฝนให้ตนเองหูตากว้างไกล หมั่นอ่านข่าวสารจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ รู้จักเฉลียวใจสอบถามข้อมูลที่ควรได้รับเพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกลงทุนได้อย่างเหมาะสม และใช้สิทธิของตนเองเพื่อช่วยลดการสูญเสีย ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถศึกษาเกี่ยวกับการลงทุนได้ที่ แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1362957

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันชีวิต

เอไอเอ ประเทศไทย เปิดตัวแผนประกันกลุ่มแบบสำเร็จรูป “เฟล็กซ์ซี่ แพ็ค (Flexi Pack)” ตอบโจทย์ทุกความต้องการ กับสวัสดิการที่เลือกได้ สำหรับลูกค้าองค์กร

30/04/2024

กรุงเทพฯ, 8 สิงหาคม 2566 – เอไอเอ ประเทศไทย ผู้นำธุรกิจประกันชีวิตและสุขภาพอันดับ 1 ของไทย* เปิดตัวแผนประกันกลุ่มแบบสำเร็จรูปใหม่ล่าสุด “เฟล็กซ์ซี่ แพ็ค  (Flexi Pack)” ที่มาพร้อมความยืดหยุ่นให้ลูกค้าองค์กรทั่วประเทศมีอิสระในการกำหนดความคุ้มครอง ด้วยผลิตภัณฑ์ที่มีให้เลือกหลากหลายได้มากถึง 15 ผลิตภัณฑ์ พร้อมความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติม อาทิ การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ และการตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น ในอัตราเบี้ยประกันภัยที่คุ้มค่า ซึ่งถูกออกแบบมาให้เหมาะสมสำหรับแต่ละองค์กร เพื่อตอบโจทย์องค์กรขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เพิ่มความอุ่นใจให้ผู้ประกอบการได้เดินหน้าองค์กรอย่างมั่นใจและหมดห่วงเรื่องสวัสดิการและสุขภาพของพนักงาน ซึ่งสอดคล้องกับความมุ่งมั่นของเอไอเอ ในการสนับสนุนให้คนไทยมีสุขภาพและชีวิตที่ดีขึ้น ตามคำมั่นสัญญา ‘Healthier, Longer, Better Lives’นางสาวจิราภรณ์ กนิษฐรัต ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายประกันธุรกิจองค์กร เอไอเอ ประเทศไทย กล่าวว่า “ปัจจุบันเอไอเอ ดูแลลูกค้าองค์กรจำนวนมากถึง 11,000 องค์กรทั่วประเทศ เราได้ศึกษาข้อมูลและทำความเข้าใจความต้องการของลูกค้าองค์กรมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เราสามารถนำความต้องการที่หลากหลายของลูกค้าองค์กรมาพัฒนาเป็นแผนประกันกลุ่มแบบสำเร็จรูป สำหรับลูกค้าองค์กรที่มีจำนวนพนักงานตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป แต่ไม่เกิน 149 คน หรือไม่เกิน 49 คน กรณีมีประกันสุขภาพ ในชื่อ “เฟล็กซ์ซี่ แพ็ค” ซึ่งมีความยืดหยุ่นสมชื่อ โดยลูกค้าองค์กรสามารถเลือกซื้อแผนประกัน และออกแบบความคุ้มครองได้ตามความต้องการภายใต้งบประมาณเบี้ยประกันภัยของแต่ละองค์กร ซึ่งแตกต่างจากแพ็กเกจสวัสดิการพนักงานทั่วไปอย่างสิ้นเชิง โดยมีจุดเด่น ได้แก่ •  อิสระ ในการกำหนดความคุ้มครอง ปรับเปลี่ยนและเพิ่มผลประโยชน์ได้ตามความต้องการของลูกค้าองค์กร •  หลากหลาย ด้วยความคุ้มครองที่มีให้เลือกมากถึง 15 ผลิตภัณฑ์ พร้อมขยายความคุ้มครองพิเศษเพิ่มเติม เช่น การฉีดวัคซีนไข้หวัดใหญ่ การตรวจสุขภาพประจำปี เป็นต้น •  คุ้มค่า กับเบี้ยประกันภัยที่ถูกออกแบบมาให้เหมาะสมกับแต่ละองค์กร เพื่อช่วยให้สามารถจัดสรรงบประมาณได้อย่างลงตัว “ทั้งนี้ เอไอเอ มั่นใจว่า เฟล็กซ์ซี่ แพ็ค จะช่วยตอบโจทย์ให้แต่ละองค์กร สามารถบริหารจัดการสวัสดิการของพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อที่ทุกองค์กรจะสามารถดำเนินธุรกิจและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ ๆ ให้องค์กรได้เดินหน้าอย่างมั่นคง พร้อมมีส่วนผลักดันให้เศรษฐกิจไทยก้าวไปข้างหน้าอย่างแข็งแกร่ง” นางสาวจิราภรณ์ กล่าวทิ้งท้าย องค์กรที่สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม กรุณาติดต่อเอไอเอคอลเซ็นเตอร์ โทร. 1581 และสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ www.aia.co.th *ข้อมูลจากสมาคมประกันชีวิตไทย ณ วันที่ 2 สิงหาคม 2566 หมายเหตุ: •  ข้อมูลนี้เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นเพื่อประกอบการนำเสนอเท่านั้น ผู้ขอเอาประกันภัยควรศึกษาทำความเข้าใจรายละเอียดรวมทั้งข้อยกเว้นไม่คุ้มครองของผลิตภัณฑ์ประกันภัย ก่อนตัดสินใจทำประกันภัยทุกครั้ง •  ข้อกำหนดและเงื่อนไขความคุ้มครองจะระบุไว้ในกรมธรรม์ประกันภัยที่ออกให้กับผู้ถือกรมธรรม์

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

หุ้น

หุ้น XD คืออะไร ? รู้ไว้ก่อนเล่นหุ้น

30/04/2024

หุ้น XD คืออะไร ? สิ่งที่นักลงทุนต้องรู้ไว้ก่อนตัดสินใจลงทุน หุ้น XD คืออะไร ? เครื่องหมาย XD (Exclude Dividend) เป็นเครื่องหมายที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดขึ้นเพื่อเตือนให้ผู้ลงทุนในหุ้นที่ขึ้นเครื่องหมายนั้น ทราบว่าผู้ซื้อหุ้นนั้นจะไม่มีสิทธิได้รับเงินปันผลที่ประกาศจ่ายในงวดนั้น อย่างไรการเข้าลงทุนในหุ้นก่อนวันขึ้นเครื่องหมาย XD อาจไม่ทำให้นักลงทุนได้รับผลตอบแทนที่สูงขึ้นจากการได้รับเงินปันผลเสมอไป เนื่องจากหลังวันที่ขึ้นเครื่องหมาย XD ราคาหุ้นมักจะมีราคาตกลงมาในจำนวนที่ใกล้เคียงกับเงินปันผลที่จ่าย ดังนั้น หากเป็นนักลงทุนระยะสั้น การได้รับเงินปันผล แต่ต้องขาดทุนจากการขายหุ้นในราคาต่ำ แต่หากเป็นนักลงทุนระยะยาวแล้ว การซื้อหุ้นที่จ่ายเงินปันผลในอัตราที่สูง จะเป็นประโยชน์ในแง่ผลตอบแทนที่เป็นเงินสดที่จะได้รับในแต่ละปี เก็บหุ้นปันผลช่วงไหนดี ? โดยช่วงที่เหมาะสมในการเก็บหุ้นปันผลคือ 1-2 เดือนก่อนบริษัทจะประกาศขึ้นเครื่องหมาย XD โดยปกติจะเริ่มทยอยประกาศในช่วงเดือนมีนาคม-เมษายน ดังนั้น ช่วงเดือนมกราคมถึงต้นกุมภาพันธ์ เป็นจังหวะที่ดีในการซื้อหุ้นปันผล ส่วนเวลาที่ไม่เหมาะสมในการซื้อหุ้นปันผลคือช่วงใกล้ ๆ ประกาศเครื่องหมาย XD เช่น 1 สัปดาห์ หรือ 1-2 วัน เพราะสังเกตได้ว่าช่วงนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่จะเข้ามาซื้อปันผลกันอย่างหนาแน่น ทำให้ราคาหุ้นปรับขึ้นอย่างรวดเร็ว เพราะยิ่งซื้อหุ้นได้ราคาแพง ๆ อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลก็จะน้อยลง อัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล = (เงินปันผลต่อหุ้นต่อปี/ราคาหุ้นปัจจุบัน) x 100 ยกตัวอย่าง     •  หุ้น ABC วันที่ 1 มกราคม 2561 ราคาหุ้นอยู่ที่ 25 บาท บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผล 2 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 8%     •  หุ้น XYZ วันที่ 1 มกราคม 2561 ราคาหุ้นอยู่ที่ 18 บาท บริษัทประกาศจ่ายเงินปันผล 2 บาท คิดเป็นอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผล 11.11% จากตัวอย่าง ถึงแม้หุ้น ABC และ XYZ จะจ่ายเงินปันผลเท่ากัน คือ 2 บาท แต่หุ้น XYZ มีอัตราผลตอบแทนจากเงินปันผลสูงกว่า เพราะมีราคาหุ้นต่ำกว่า ดังนั้น หากสนใจควรหาจังหวะที่ราคาหุ้นปันผลยังไม่ขยับขึ้น หรือถ้าเป็นไปได้ควรซื้อในช่วงที่ตลาดหุ้นผันผวนหรือเป็นขาลง เพราะราคาหุ้นส่วนใหญ่ (รวมถึงหุ้นปันผล) จะปรับลดลงตามภาวะตลาดโดยรวม หุ้นที่สามารถจ่ายเงินปันผลได้สม่ำเสมอ เป็นอย่างไร ? โดยหุ้นที่มีความสามารถจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ มีคุณสมบัติ ดังนี้     •  ผลการดำเนินงานเติบโตสม่ำเสมอ ถึงแม้ยอดขายหรือกำไรจะไม่เติบโตแบบก้าวกระโดดเหมือนบริษัทที่กำลังขยายธุรกิจ แต่ผลการดำเนินงานจะเติบโตในลักษณะค่อยเป็นค่อยไปไม่หวือหวา ที่สำคัญจะไม่ขาดทุนเลย     •  ผลการดำเนินงานคาดการณ์ได้ง่าย หุ้นปันผลที่ดีจะสามารถคาดการณ์แนวโน้มผลการดำเนินงานในอนาคตได้ง่าย วิธีการคือ นำตัวเลขประมาณการกำไรต่อหุ้น คูณกับนโยบายการจ่ายปันผล จะสามารถประมาณการการจ่ายเงินปันผลคร่าว ๆ ได้     •  ประวัติการจ่ายเงินปันผลยอดเยี่ยม ไม่ว่าเศรษฐกิจจะซบเซา เกิดวิกฤต หรือขยายตัว บริษัทจะยินดีจ่ายเงินปันผลสม่ำเสมอ     •  โครงสร้างทางการเงินแข็งแกร่ง มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวก โดยดูย้อนหลังไปหลาย ๆ ปี เพราะกระแสเงินสดเป็นตัวชี้ว่ามีความสามารถในการจ่ายเงินปันผล     •  หนี้สินต่ำ เราสามารถดูโครงสร้างหนี้สิน ด้วยการดูหนี้สินต่อทุน (D/E Ratio) โดยเฉพาะหนี้สินระยะสั้น หากมีเยอะ ๆ ก็อาจทำให้ความสามารถในการจ่ายเงินปันผลลดลง     •  สภาพคล่องสูง โดยส่วนใหญ่หุ้นปันผลมักมีสภาพคล่องไม่ค่อยสูง เพราะนักลงทุนซื้อเพื่อลงทุนระยะยาว ดังนั้น ควรหาหุ้นปันผลที่มีมาร์เก็ตแคป (Market Cap) ใหญ่พอสมควร เพราะหากต้องการขายก็สามารถทำได้ทันที หรือหากเป็นหุ้นปันผลมาร์เก็ตแคปต่ำ ก็ควรเลือกหุ้นที่มีการกระจายการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย (Free Float) มากกว่าเกณฑ์ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯกำหนด นั่นคือ มากกว่า 15%     •  ค่าเบต้า (Beta) ต่ำ เป็นปัจจัยที่ใช้เปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงราคาหุ้นกับการเคลื่อนไหวดัชนีหุ้น ถ้าเป็นหุ้นปันผลจะมีค่าเบต้าต่ำ นั่นคือ ราคาหุ้นจะผันผวนน้อยกว่าตลาด เช่น หุ้น ABC มีค่าเบต้า 0.7 เท่า หมายความว่า ถ้าดัชนีหุ้นไทยปรับขึ้น 10% ราคาหุ้น ABC จะขึ้น 7% เช่นกัน ถ้าดัชนีหุ้นปรับลดลง 10% ราคาหุ้น ABC จะปรับลดลง 7% ข้อมูลจาก : ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1360549

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ทางเลือกควรรู้ เมื่อไม่มีเงินจ่ายเบี้ยประกัน-กรมธรรม์ช่วยได้เมื่อขัดสน

30/04/2024

บทความโดย “ทศพร อิศรางกูร ณ อยุธยา”นักวางแผนการเงิน CFP® สมาคมนักวางแผนการเงินไทยวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 กรมธรรม์ประกันชีวิตจะมีมูลค่าในตัว ส่วนจะมากน้อยแค่ไหนขึ้นอยู่กับประเภทของกรมธรรม์ จำนวนปีและจำนวนเบี้ยประกันที่ได้ส่งไปก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจก่อนว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีในท้องตลาด ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ ตัวประกันหลักและสัญญาเพิ่มเติม (ส่วนของสัญญาเพิ่มเติมอาจจะมีหรือไม่มีก็ได้)ในบทความนี้ จะพูดถึงส่วนของประกันหลัก เช่น ทำประกันสุขภาพกับบริษัทประกันชีวิตแห่งหนึ่งไว้ จ่ายเบี้ยปีละ 30,000 บาท ในกรมธรรม์จะมีประกันหลักเป็นเบี้ยประกัน 10,000 บาทเมื่อเราจ่ายเบี้ยประกันไปเรื่อย ๆ ทุกปี ปีละ 10,000 บาท กรมธรรม์จะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้รู้ว่ามีมูลค่าเท่าใด และใช้ประโยชน์อย่างไรบ้าง (พิจารณาตาราง)หากนาง ข ทำประกันชีวิตแบบนี้ ที่ทุนประกัน 400,000 บาท มูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์จะเป็นตัวเลข ดังนี้ตัวอย่างมูลค่ากรมธรรม์ แบบทุนประกัน 400,000 บาทมูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์ หมายความว่าอย่างไร ควรเลือกแบบไหนความหมายของตาราง : สิ้นปีกรมธรรม์ที่ซื้อประกันครั้งแรกจ่ายเบี้ยไป ผ่านไป 1 ปี ครบกำหนดกำลังจะจ่ายเบี้ยปีที่สอง คือ จุดที่เรียกว่า สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 1 หากกำลังจ่ายเบี้ยปีที่ 6 หมายความว่าทำกรมธรรม์มาครบรอบ 5 ปีเต็ม ถือเป็นสิ้นปีกรมธรรม์ปีที่ 5 วิธีนับจำนวนสิ้นปีกรมธรรม์คือ ถ้าจ่ายเบี้ยกรมธรรม์นั้น ๆ ไปกี่ปี ให้ลบออก 1 ปี ก็จะเป็นสิ้นปีกรมธรรม์นั้น ๆเช่น จ่ายเบี้ย 10 ครั้ง ก็คาดได้ว่าถ้าจะดูมูลค่าต่าง ๆ ในกรมธรรม์ ให้ดูที่สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 9ความหมายของตาราง : เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ประกันภัย การเวนคืนกรมธรรม์ คือ การยกเลิกกรมธรรม์ เมื่อเลือกวิธีนี้กรมธรรม์จะไม่มีผลคุ้มครองอีกต่อไป แต่จะได้เงินจากมูลค่ากรมธรรม์ที่เหลืออยู่กลับมาจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท เงินค่าเวนคืนกรมธรรม์ ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 คือ 68,400 บาท [(400,000/1,000) *171] ก็จะได้เงินก้อนนี้มา กรมธรรม์สิ้นผลความคุ้มครองความหมายของตาราง : มูลค่าเงินสำเร็จ วิธีการนี้กรมธรรม์จะมีความคุ้มครองไปจนครบสัญญาของกรมธรรม์ เพียงแต่ทุนประกันจะลดลงตามมูลค่าที่ปรากฏอยู่ในตารางจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท มูลค่าเงินสำเร็จ ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 9 คือ 226,000 บาท หมายความว่าเมื่อเลือกวิธีใช้เงินสำเร็จ ทุนประกันลดเหลือ 226,000 บาท (จากเดิม 400,000) คุ้มครองไปตลอดชีพ (ตามชื่อแบบ) และไม่ต้องชำระเบี้ยประกันแล้วความหมายของตาราง : ขยายระยะเวลา วิธีการนี้จะนำมูลค่ากรมธรรม์ที่มีอยู่ ไปคำนวณว่าจะสามารถคุ้มครองที่ทุนประกันเดิม ไปได้อีกวัน กี่ปี โดยไม่ต้องจ่ายเบี้ยอีกจากตัวอย่าง ทำไว้ที่ทุน 400,000 บาท ขยายระยะเวลา ณ สิ้นปีกรมธรรม์ที่ 10 คือ 21 ปี 14 วัน หมายความว่า หากเลือกจะใช้แบบขยายระยะเวลา หยุดจ่ายเบี้ย จะมีความคุ้มครอง 400,000 บาท ต่อไปอีก 21 ปีกับอีก 14 วัน3 ทางออกหลักสมมุติว่าหากประสบปัญหาทางการเงิน ไม่มีเงินจ่ายเบี้ยต่อ มี 3 ทางออกหลักการเวนคืนกรมธรรม์มีข้อดี คือ ได้เงินคืนทันที แต่ความคุ้มครองที่มีอยู่ก็หมดไปด้วย หากเลือกวิธีนี้ควรชั่งน้ำหนักดูว่าความคุ้มครองที่หายไปจากยกเลิกกรมธรรม์จะมีความเสี่ยงอะไรบ้าง กับเงินที่ได้มาในทันที ข้อสำคัญควรระมัดระวังหากระยะเวลาของกรมธรรม์ยังไม่ถึง 10 ปีเต็มหากใช้สิทธิ์ลดหย่อนไป จึงไม่แนะนำที่จะเวนคืนกรมธรรม์เอง ควรปรึกษานักวางแผนการเงินสำหรับทางออกที่ 2 และ 3 เหมาะสำหรับผู้ที่ยังมีความจำเป็นด้านประกันชีวิต แต่ไม่สามารถหาเบี้ยประกันมาจ่ายได้นอกจาก 3 วิธีข้างต้น ยังสามารถมีวิธีพิเศษโดยการที่มีเงินก้อนหมุนมาใช้ และขณะเดียวกันความคุ้มครองยังมีอยู่ด้วยการกู้กรมธรรม์การกู้กรมธรรม์ โดยใช้มูลค่าเงินสดที่มีอยู่ในกรมธรรม์จำนวนเงินที่จะกู้ได้เท่าไร คิดเป็นประมาณ 80% ของมูลค่าเงินสดในตาราง ณ ปีกรมธรรมนั้น ๆ อัตราดอกเบี้ยรายปีที่ใช้คิดกับเงินกู้ก้อนนี้สามารถเปิดดูจากเล่มกรมธรรม์และคำนวณ ดังนี้จากตัวอย่าง การประกันชีวิตใช้อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 5.0 ต่อปี ในการคำนวณเบี้ยประกันภัย เงินที่กู้ออกมาจะถูกคิดด้วยร้อยละของอัตราดอกเบี้ยที่ใช้ในการคำนวณเบี้ยประกันภัย + 2 ซึ่งก็คือ 5.0+2 = 7% ต่อปีดอกเบี้ยดังกล่าวมักจะมีอัตราต่ำกว่าสินเชื่อแบบอื่น ๆ หรือกู้นอกระบบ ที่สำคัญการคืนหนี้สินจะคืนเมื่อไรก็ได้ แต่อย่าลืมว่ายังต้องจ่ายเบี้ยประกันเช่นเดิม จึงควรระมัดระวังว่าหากไม่มีการจ่ายเบี้ยประกันต่อไป เลยระยะเวลาผ่อนผัน ซึ่งมูลค่ากรมธรรม์อาจมีไม่มากพอที่จะกู้ชำระเบี้ยอัตโนมัติ กรมธรรม์อาจขาดอายุได้ หมายความว่า ความคุ้มครองที่ต้องการก็จะหมดไปด้วยกรมธรรม์ นอกจากจะทำหน้าที่มอบความคุ้มครองให้กับตัวเองโดยตรงแล้ว อาจช่วยในทางอ้อมได้เมื่อเกิดขัดสน อย่าทิ้งขว้างกรมธรรม์ เพราะนึกว่าไม่มีเงินแล้วก็ไม่ต้องสนใจอีก อย่าลืมหยิบกรมธรรม์ขึ้นมาดูว่าจะช่วยอะไรได้บ้างแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1359438

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ภาษี

6 กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี

30/04/2024

ทุกคนทำงานหนักก็อยากจะได้ผลตอบแทนเต็มเม็ดเต็มหน่วย แต่สิ่งที่หลีกหนี้ไม่ได้นั่นก็คือการที่จะต้องเสียภาษี การวางแผนเรื่องภาษีจึงเป็นเรื่องสำคัญ เรามาทำความเข้าใจกับ 6 กลยุทธ์ในการการวางแผนภาษี เพื่อช่วยประหยัดภาษีกัน มีอะไรบ้าง กว่าจะได้รายได้มา มักจะต้องลงทุนลงแรงไปพอสมควร ครั้นเมื่อได้มาแล้ว ก็ใช่ว่าเงินนั้นจะเข้ากระเป๋าเราทั้งหมด เพราะมีบางส่วนที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมาย แต่จะทำอย่างไร ที่จะเสียภาษีน้อยๆ โดยไม่ผิดกฎหมาย  วันนี้จะมาเล่าสู่กันฟังเกี่ยวกับ 6 กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี ตามหลักการของการวางแผนการเงิน แต่ก่อนที่จะไปดูว่ามีกลยุทธ์อะไรบ้างที่ช่วยประหยัดภาษีได้ มาดูกันก่อนว่าภาษีคำนวณมาจากอะไร ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คำนวณมาจาก รายได้หรือเงินได้พึงประเมิน หักค่าใช้จ่าย ค่าลดหย่อน เงินบริจาค เหลือเป็น เงินได้สุทธิ แล้วนำเงินได้สุทธิมาคำนวณภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้าของเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าเรามีตัวเลขที่เป็นเงินได้พึงประเมินน้อย หรือ หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนได้มาก เงินได้สุทธิจะลดลง เราก็จะเสียภาษีน้อยลง   กลยุทธ์ในการวางแผนภาษี มีดังนี้ กลยุทธ์ที่ 1 : การกระจายหน่วยภาษี และ การกระจายรายได้ ถ้าเราสามารถกระจายหน่วยภาษี หรือกระจายรายได้ ฐานเงินได้ที่นำไปคำนวณภาษีก็จะลดลง ภาษีก็จะน้อยลง กลยุทธ์ที่ 2: การแปลงประเภทเงินได้ เพื่อหักค่าใช้จ่าย รายได้บางประเภทอาจจะมีเพดานของการหักค่าใช้จ่าย ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี บางประเภทอาจจะหักค่าใช้จ่ายได้ไม่เกิน 30% หรือ 60% โดยไม่มีเพดานกำหนด ถ้าเราเลือกรับเงินได้เป็นประเภทที่หักค่าใช้จ่ายได้มาก เราก็จะเสียภาษีน้อยลง กลยุทธ์ที่ 3: การลดเงินได้สุทธิ เราสามารถทำให้เงินได้สุทธิลดลง โดยการใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษี ซึ่งปัจจุบันมีรายการลดหย่อนมากมาย บางรายการเป็นสิทธิ์ที่ได้รับอยู่แล้ว บางรายการสามารถทำได้โดยการย้ายเงินจากแหล่งอื่นมาออมหรือลงทุน เพื่อให้ได้สิทธิประโยชน์ทางภาษี เช่น การลงทุนในกองทุนรวม SSF RMF การทำประกันชีวิต ประกันบำนาญ ฯลฯ ถ้าเราใช้สิทธิ์ได้เต็มที่ตามความเหมาะสม ก็จะทำให้เงินได้สุทธิลดลง และประหยัดภาษีได้ กลยุทธ์ที่ 4: การบริหารเงินได้จากแหล่งนอกประเทศ กรณีมีการรับเงินได้จากแหล่งภายนอกประเทศในปีภาษีใด ถ้าเราไม่นำเงินที่ได้รับเข้ามาในประเทศในปีเดียวกัน หรืออยู่ในเมืองไทยน้อยกว่า 180 วัน ในปีนั้น เงินได้ส่วนนั้นก็ไม่ต้องเสียภาษีในประเทศไทย กลยุทธ์ที่ 5: การกำหนดเวลาการรับเงินได้ หากจะมีรายได้ก้อนใหญ่เข้ามาในปีใดปีหนึ่ง หรือมีรายได้ช่วงปลายปีจำนวนมาก เราอาจจะขอทยอยการรับรายได้เป็นปีถัดไป หรือทยอยการรับเงินได้เป็นงวดๆ เพื่อให้ฐานเงินได้ที่นำไปคำนวณภาษีลดลง ภาษีก็จะน้อยลง กลยุทธ์ที่ 6: การเลือกรวม หรือไม่รวมภาษีปลายปี เงินได้บางประเภท เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล สามารถเลือกที่จะนำมารวมหรือไม่รวมคำนวณภาษีปลายปี โดยใช้สิทธิ์ภาษีสุดท้าย (Final Tax) หรือ หักภาษี ณ ที่จ่าย ตอนที่ได้รับเงินแล้วจบ ไม่ต้องนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณในการยื่นภาษีปลายปีก็ได้ เราอาจจะต้องลองคำนวณเปรียบเทียบดูว่า ระหว่างการนำเงินได้นั้นมารวมคำนวณยื่นภาษีปลายปี แล้วนำภาษีที่ถูกหักไปมาเครดิตภาษีออก เทียบกับการไม่นำเงินได้นั้นมารวมคำนวณตอนปลายปี อย่างไหนจะทำให้เสียภาษีน้อยกว่ากัน ก็เลือกวิธีนั้น ถ้าเราเลือกกลยุทธ์เหล่านี้ไปใช้ให้เหมาะสม เราก็จะเสียภาษีอย่างประหยัดและถูกต้อง ทำให้เหลือเงินเข้ากระเป๋ามากขึ้น หรือสามารถนำเงินไปออมหรือลงทุน เพื่อเพิ่มพูนความมั่งคั่งในอนาคตได้มากขึ้น ที่มา: หลักสูตร CFP Module 5 การวางแผนภาษีและมรดก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย www.tfpa.or.th แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับฐานเศรษฐกิจhttps://www.thansettakij.com/finance/financial-banking/572134

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

ประกันภัย

ประกันปรับพอร์ต 4 ล้านล้าน โยกลงทุน ESG-คปภ. จ่อออกเกณฑ์หนุน

30/04/2024

“คปภ.” ถกภาคธุรกิจประกันภัย เตรียมออกเกณฑ์ปรับพอร์ต 4.2 ล้านล้านบาท โยกลงทุนด้าน ESG “กรีนบอนด์-กรีนฟันด์-หุ้นยั่งยืน” รับลูกนโยบายกระทรวงการคลัง ฟาก “เอกชน” เสนอควรลดเงินสำรองกันความเสียหายลง ด้าน “เมืองไทยประกันชีวิต” ลุยศึกษาพัฒนาแบบประกัน-ลงทุน แย้มผลตอบแทนดีนายชูฉัตร ประมูลผล รองเลขาธิการด้านกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า จากการหารือผู้บริหารระดับสูงของภาคธุรกิจประกันภัยในการขับเคลื่อนนโยบาย ESG ตามแนวทางกระทรวงการคลังนั้น มีหัวใจหลัก 2 ส่วนคือ 1. การลงทุน 2. ความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัยโดยในส่วนการลงทุนปัจจุบันธุรกิจประกันชีวิตและธุรกิจประกันวินาศภัย มีสินทรัพย์ลงทุนรวมกันประมาณ 4.2 ล้านล้านบาท ถือเป็นนักลงทุนรายใหญ่ของประเทศ จึงอยากให้เข้าไปลงทุนในธุรกิจที่เชื่อมโยงกับนโยบาย ESG ในกลุ่มสิ่งแวดล้อม โดยให้บริษัทประกันภัยลงทุน เช่น กรีนบอนด์, หุ้นยั่งยืนที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นไทย, กองทุนรวมที่มีนโยบายลงทุนในหุ้นที่ดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน, ธุรกิจที่ส่งเสริมลดคาร์บอน เป็นต้น“ตอนนี้ถือว่าซัพพลายกองทุนรวมต่าง ๆ ยังค่อนข้างน้อย และรีเทิร์นอาจไม่สูงมาก ภาคธุรกิจประกัน จึงเสนอว่าควรลดเงินสำรองกันความเสียหาย (risk charge) ลงด้วย ทั้งนี้ สำนักงาน คปภ.จะต้องไปออกกฎระเบียบประเภทการลงทุน ESG เพื่อให้มีความคล่องตัวมากขึ้น แต่ขณะเดียวกัน คงจะต้องมีการกำกับดูแลผู้ให้บริการตามระดับความเสี่ยง (risk proportionality) เพื่อทำให้บริษัทประกันภัยมีความแข็งแรงขึ้นกว่าเดิมด้วย โดยมีตัวชี้วัดทั้งในเชิงคุณภาพและปริมาณ”ขณะที่ในส่วนความคุ้มครองกรมธรรม์ประกันภัย พบว่าเกือบทั้งหมดสามารถตอบสนองนโยบาย ESG ในกลุ่ม Social ได้พอสมควรอยู่แล้ว เพราะการประกันภัยเป็นการช่วยบริหารความเสี่ยง ที่ช่วยบรรเทาความเสียหาย แต่ชัดที่สุดคือ การประกันสุขภาพและการประกันบำนาญ ซึ่งจะช่วยดูแลสถานภาพทางการเงินของผู้สูงอายุที่ประเทศกำลังประสบอยู่โดยการจะผลักดันให้การประกันภัยเติบโตอย่างรวดเร็ว กรณีประกันสุขภาพ ก็คุยกันถึงแนวทางที่สอดคล้องกับความเสี่ยงที่แท้จริง (risk based pricing) ซึ่ง คปภ. รับไปพิจารณา เพราะฐานการประกันสุขภาพของไทยโตพอสมควรแล้ว มีเบี้ยเกิน 1 แสนล้านบาทต่อปี และโตเกิน 10% แต่คงจะต้องกำหนดหลักเกณฑ์อย่างละเอียดออกมาก่อน เพื่อไม่ให้ผู้เอาประกันภัยที่ถูกชาร์จเบี้ยแพงหลุดออกจากระบบไปส่วนประกันบำนาญ ยังมีมาร์เก็ตแชร์อยู่แค่ 0.6% ของการประกันภัยทั้งหมด ในขณะที่ไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ต้องผลักดันประกันบำนาญให้โตขึ้น จึงมีรายละเอียดที่ต้องทำอีก เช่น หารือกรมสรรพากรเรื่องสิทธิทางภาษี เป็นต้นนางสาววสุมดี วสีนนท์ รองเลขาธิการด้านตรวจสอบ สำนักงาน คปภ.กล่าวว่า การกำกับดูแลของ คปภ. จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องบูรณาการกับหน่วยงานภาครัฐอื่น ๆ มากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงดาต้านายสาระ ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.เมืองไทยประกันขีวิต (MTL) ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า การขับเคลื่อน ESG ของเมืองไทยประกันชีวิต ขณะนี้อยู่ในช่วงเฟสแรกคือ ศึกษาสโคปที่ 1-2 ซึ่งทำได้ง่าย เพราะเกี่ยวข้องกับตัวเอง เช่นทำเรื่อง zero waste, ลดคาร์บอน, การดำเนินธุรกิจแบบ paperless, การใช้ EV และการใช้โซลาร์รูฟ เป็นต้นแต่ตัวที่สร้างก๊าซเรือนกระจกมากที่สุดอยู่ในสโคปที่ 3 คือการลงทุน โดยปัจจุบันบริษัทประกันภัยมีสินทรัพย์ลงทุนรวมกันกว่า 90% ของสินทรัพย์รวม หรือมีมูลค่ากว่า 4.2 ล้านล้านบาท ซึ่งเน้นลงทุนอยู่ในพันธบัตรรัฐบาล, ตราสารหนี้, หุ้นกู้ระดับลงทุน (investment grade) เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ถ้าจะให้ธุรกิจประกันภัยให้น้ำหนักการลงทุน เช่น กรีนบอนด์ หรือลงทุนในองค์กรที่ต้องทรานส์ฟอร์มตัวเองในเรื่องพวกนี้ ก็มองว่ามีความเป็นได้มากน้อยแค่ไหนที่จะลด risk charge ลงมา“เรื่องของ ESG ถือว่ามีความสำคัญมาก จะไม่ใช่เป็นการปันงบฯ มาทำ CSR เพื่อดูแลสิ่งแวดล้อมหรือสังคม แต่ต้องล้อไปกับการทำธุรกิจ เพราะเป็นเรื่องของการแข่งขันในนานาประเทศไปแล้ว อย่างไรก็ตาม การทำเรื่องพวกนี้เราคงต้องดูให้ดีว่าอีโคซิสเต็มในประเทศไทยมีความพร้อมขนาดไหน รวมถึงเรื่องความเสี่ยงต่าง ๆ ด้วย” นายสาระกล่าวส่วนการพัฒนาแบบกรมธรรม์ที่ตอบโจทย์ความยั่งยืน ปัจจุบันแบบประกันชีวิตควบลงทุน (ยูนิตลิงก์) และยูนิเวอร์แซลไลฟ์ ก็เริ่มเข้าไปแตะพวกกองทุนกรีนฟันด์, กรีนบอนด์ มากขึ้น เช่น กองทุนบางกองมีการลงทุนในเรื่องพลังงานทดแทน เป็นต้น ซึ่งผลตอบแทนก็ถือว่าดี“วันนี้ก็มีแบบประกันสุขภาพที่คุ้มครองจนถึงอายุ 99 ปีแล้ว โดยสามารถซื้อได้ตอนอายุสุดท้ายคือ 90 ปี และก็มีการพูดคุยกันถึงการพัฒนากรมธรรม์สุขภาพผู้สูงวัย หรือกลุ่มคนที่เป็นโรคมาก่อนแล้ว ซึ่งเรื่องพวกนี้ทำได้ เพียงแต่ในหลักการของความยั่งยืน “ถ้าทำแล้วเจ๊ง” ก็จะไม่ยั่งยืน พูดแบบแฟร์ ๆ ฉะนั้น ต้องทำแบบบูรณาการร่วมกัน โดยเฉพาะกับทางบริษัทรับประกันภัยต่อ” นายสาระกล่าวแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์https://www.prachachat.net/finance/news-1360761

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม

X