Everyday knowledge for you
ข่าวการเงิน
30/04/2024
• คนวัยทำงานในช่วงกอบโกยเงินทองอย่าชะล่าใจ ต้องนึกถึงตัวเองรู้จักเก็บออม ไม่ว่าจะวิธีใดก็ตาม เพื่อการใช้ชีวิตในอนาคตเมื่อสู่วัยสูงอายุ ไม่ให้เผชิญกับความยากลำบาก เพราะจากสถานการณ์การเตรียมพร้อมของคนรุ่นใหม่ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ในการสำรวจปี 2564 ของสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่า 72% ของผู้ตอบแบบสอบถามอายุ 18-59 ปี จำนวน 1,734 คน ทราบว่าประเทศไทยเข้าสู่สังคมสูงอายุแล้ว • แสดงให้เห็นว่าประมาณ 1ใน 4 ของประชากรวัยทำงาน อาจยังไม่ได้ตระหนักถึงสถานการณ์การสูงวัยของสังคมไทย และ 1 ใน 5 ยังไม่ได้เตรียมตัวด้านสุขภาพเลย โดยเฉพาะกลุ่มเจน Z อายุ 18-26 ปี คิดว่าตัวเองสุขภาพดีเพียง 57.6% เท่านั้น ต่ำกว่าเจน X กลุ่มอายุ 42-59 ปี และ เจน Y กลุ่มอายุ 27-41 ปี แม้พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพมีทุกรุ่นทุกอายุ แต่กลุ่มเจน Y และ Z มีพฤติกรรมชอบกินอาหารรสจัด พักผ่อนและออกกำลังกายไม่เพียงพอ หลายคนนอกดึก เพราะดูซีรีย์ หรือเล่นเกม • มาดูเรื่องการเก็บออม กลุ่มเจน Z ออมแบบฝากธนาคารและเงินสด มากกว่าเจน X และ Y ซึ่งออมในรูปแบบประกันชีวิต กองทุนรวม กองทุนชุมชน หรือลงทุนในอสังหาริมทรัพย์มากกว่า ขณะที่การสร้างครอบครัวไม่ใช่เป้าหมายของคนรุ่นใหม่ จึงไม่นิยมมีลูก โดยเจน Y และ Z ต้องการพึ่งพารัฐ หรือสถานสงเคราะห์ เพื่อให้ดูแลในช่วงท้ายของชีวิต สูงกว่าเจน X เมื่อช่วงท้ายของชีวิตในวัยสูงอายุไม่อาจหลีกเลี่ยงเรื่องสุขภาพที่เสื่อมถอย อาจต้องนอนติดเตียง หรือไม่สามารถสื่อสารได้ เป็นชีวิตที่ไม่พึงปรารถนา ทุกคนจึงมีสิทธิแสดงเจตนาไม่รับบริการสาธารณสุขที่เป็นเพียง เพื่อการยืดการตายในวาระสุดท้าย หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วย ตาม พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 มาตรา 12 โดยพบว่าส่วนใหญ่ทุกรุ่นอายุ ไม่ต้องการเป็นภาระให้ครอบครัว ไม่ต้องการยื้อชีวิตหากอยู่ในภาวะโคม่า และต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับการทำเอกสารแสดงเจตนา หรือชีวเจตน์ เพื่อวางแผนวิธีการรักษาพยาบาลล่วงหน้า หรือยุติการรักษา เป็นบทสรุปคร่าวๆ ในการเตรียมพร้อมเข้าสู่วัยสูงอายุของคนรุ่นใหม่ หรือคนวัยทำงาน นำไปสู่คำถามว่าน่าห่วงหรือไม่? ก็ได้คำตอบจาก ”รศ.ดร.เฉลิมพล แจ่มจันทร์” สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล มีทั้งกลุ่มน่าห่วงและน่าจะเอาตัวรอดได้ โดยด้านการเงินในการดูแลตัวเองเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ แบ่งเป็น 3 แหล่ง 1.จากการพึ่งตัวเอง 2. ภาครัฐ ซึ่งมีระบบการคุ้มครองทางสังคม และ 3. คนในครอบครัว ในการพึ่งครอบครัว ดูเหมือนค่อนข้างจะแน่นอนในยุคก่อนๆ แต่เมื่อคนยุคปัจจุบันแต่งงานน้อยลง มีลูกน้อยลง ทำให้เห็นได้ชัดว่าการจะหวังพึ่งครอบครัว ให้ลูกหลานดูแลลดลงอย่างแน่นอน และการพึ่งภาครัฐ ก็มีการส่งเสริมการออมกับกองทุนการออมแห่งชาติ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีค่อนข้างน้อย หรือแม้ประกันสังคม จะขยายอายุผู้มีสิทธิรับประโยชน์ทดแทนกรณีชราภาพจาก 55 ปี เป็น 60 ปี แต่เรื่องความเสี่ยงก็มีมาก เพราะผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง จะทำให้การจ่ายเงินกรณีชราภาพ อาจไม่เพียงพอกลุ่มเจน X เจน Y หรือเจน Z น่าห่วงมากกว่ากัน เมื่อประเมินการพึ่งตัวเองในเรื่องการออมเงินและการลงทุน จากข้อมูลสถานการณ์เตรียมพร้อมของคนรุ่นใหม่ เมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ จะเห็นว่าคนรุ่นใหม่ให้ความสำคัญในการออม แต่ยังค่อนข้างต่ำท่ามกลางเงินเฟ้อขยับขึ้นสูง ขณะเดียวกันการลงทุน แม้มีความมั่นคงในการลงทุน แต่ก็ยังขาดทักษะ ซึ่งต้องยอมรับว่าเป็นห่วง แต่หากยังสามารถทำงานได้ในวัยสูงอายุก็ดี “ในส่วนสวัสดิการภาครัฐ ต้องยอมรับว่าไม่เพียงพอ แต่ก็ไม่อยากให้ขยับเบี้ยยังชีพแบบก้าวกระโดดไปถึง 3 พันบาท เพราะจะกระทบภาระทางการคลัง ดังนั้นแนวทางในการเตรียมพร้อมเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ควรให้ความสำคัญกับการพึ่งตัวเองด้วยการออม ทั้งกลุ่มเจน X เจน Y เจน Z โดยเฉพาะเจน Z นอกจากออมเงินแล้ว ก็มีการลงทุน ด้วยการลงทุนบิตคอยน์ ซึ่งค่อนข้างเสี่ยง เพราะมีเป้าหมายอยากเกษียณอายุเมื่ออายุ 45-50 ปี” การพึ่งตัวเองสำคัญมาก แต่ตลาดการลงทุนต้องมีความปลอดภัยมากขึ้น และหน่วยงานของรัฐต้องมีการจัดการความเสี่ยง ควบคู่กับการคุ้มครองทางสังคมและมีระบบบำนาญ ต้องขยายให้ทั่วถึงมากที่สุดให้ครอบคลุมถึงแรงงานนอกระบบ เพราะคนรุ่นใหม่ส่วนใหญ่ทำอาชีพอิสระกันมากขึ้น เป็นโจทย์ใหญ่ต้องสานต่อ ทั้งตัวบุคคลเองและภาครัฐ โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่จะมองอนาคตของตัวเอง และให้ความสำคัญมากขึ้น ในการจัดการเรื่องการเงิน และจัดการความเสี่ยง ซึ่งภาครัฐต้องโฟกัสไปตลาดการลงทุน ไม่ให้โตเองโดยธรรมชาติ ควรมีการกำกับดูแลให้ชัดเจน กลุ่มเจน Z ก็น่าห่วง แต่อายุยังไม่มากยังมีเวลาเตรียมตัว แต่กลุ่มเจน X มีเวลาน้อยในการเตรียมตัวไม่ให้มีความเสี่ยงมากพอ ถือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบาง เพราะยังมีสัดส่วนมากพอสมควรในการแต่งงานและมีลูก แม้ทำงานมีรายได้สูง แต่ก็มีภาระทั้ง 2 ฝั่งในการเลี้ยงดูพ่อแม่ รวมถึงลูกของตัวเอง ซึ่งกลุ่มนี้ต้องเตรียมตัวให้กับตัวเอง และยังคิดว่าเมื่อแก่ตัวลงจะมีลูกคอยดูแล แต่อาจตรงกันข้ามกับลูกๆ ที่คิดว่ามีพ่อแม่คอยดูแลให้การสนับสนุนโควิดกระทบคนรายได้น้อย ยิ่งเพิ่มความเปราะบาง “ทัศนคติการมีครอบครัวของเด็กรุ่นใหม่จะลดลงแน่ๆ อาจทำให้ความคิดเปลี่ยนไป และเชื่อว่ากลุ่มเจน X ตอนปลาย แม้มีลูก แต่อาจมีความคิดเปลี่ยนไปในการคิดถึงตัวเองมากขึ้น และไม่ว่าจะเป็นกลุ่มเจนใด หากมีงานทำมีรายได้ ก็ไม่น่าห่วงเท่ากับกลุ่มวัยทำงานมีรายได้น้อย มีความเปราะบางมาก โดยเฉพาะช่วงโควิดระบาด ไม่ใช่เฉพาะกลุ่มยากจนที่ได้รับผลกระทบ ยังมีกลุ่มใกล้ยากจน มีโอกาสสูงที่จะอยู่ภายใต้ความยากจน ซึ่งมีความเปราะบางค่อนข้างสูง รวมถึงคนทำกิจการเล็กๆ ต้องปิดกิจการไป” ในช่วงโควิด มีแรงงานเป็นจำนวนมากอายุ 45 ปีขึ้นไป ตกงานจากการเป็นลูกจ้างบริษัทเอกชน ซึ่งกลุ่มนี้มีความยากลำบากจะกลับเข้ามาสู่ระบบการทำงาน หรือการจะเริ่มต้นทำธุรกิจใหม่ก็ยากลำบาก อาจกลายเป็นกลุ่มที่พึ่งภาครัฐมากขึ้น และหลังวิกฤติโควิดยังมีประเด็นปัญหาตามมาอีกมากมาย ยิ่งเพิ่มความเปราะบางมากขึ้น และการที่รัฐจะดูแลผู้สูงวัยและผู้สูงอายุ ขึ้นอยู่กับภาระทางการคลังว่าสามารถทำได้ครอบคลุมหรือไม่อีกทั้งกองทุนประกันสังคม ก็มีความเปราะบางในการจ่ายให้กับผู้สูงอายุที่มีจำนวนมากขึ้น ประเมินว่า 10-20 ปี อาจมีเงินไม่พอจ่ายในกรณีชราภาพ สุดท้ายต้องพึ่งตัวเอง โดยเฉพาะคนรุ่นใหม่ แต่หากพ่อแม่เกิดในยุคเบบี้บูม ส่วนใหญ่ทำงานเพื่อซื้อทรัพย์สินให้กับลูก กลายเป็นสินทรัพย์สร้างแหล่งรายได้ในอนาคตให้กับลูก และเมื่อลูกเข้าสู่วัยสูงอายุ อาจนำสินทรัพย์ที่ได้มา เช่น บ้าน มาดูแลตัวเองเมื่อไม่มีลูกดูแล หรืออาจใช้วิธีขายบ้านล่วงหน้าให้กับธนาคาร ซึ่งเรียกว่า Reverse Mortgage หรือการจำนองแบบย้อนกลับ เหมือนในต่างประเทศ โดยสามารถอยู่อาศัยในบ้านได้ และทางธนาคารต้องจ่ายเงินค่างวดทุกๆ เดือน จนกว่าจะเสียชีวิต และธนาคารก็ได้บ้านนำเอาไปขายทอดตลาด ซึ่งภาครัฐควรมีนโยบายนี้ เพื่อช่วยเหลือและเป็นทางเลือกให้กับผู้สูงอายุ. ผู้เขียน : ปูรณิมา แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับไทยรัฐออนไลน์ https://www.thairath.co.th/scoop/theissue/2607421
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ทำความรู้จักกับ 3 ธุรกิจดาวรุ่งปี 2566 ที่ผู้ประกอบต้องให้ความสำคัญและเล้งเห็นโอกาสของธุรกิจเหล่านี้ เพื่อนำองค์ความรู้ไปพัฒนาและต่อยอดได้ 1. ธุรกิจสุขภาพ กระแสใส่ใจสุขภาพคนไทยเข้าสู่สังคมสูงวัยและความเจ็บป่วยด้วยโรคใหม่มีมากขึ้น คาดรายได้โรงพยาบาลเอกชน ปี 2566 ขยายตัว 6-8% 2. ธุรกิจสีเขียว (ESG) เช่น รถยนต์พลังงานไฟฟ้า โซลาร์รูฟท็อป กิจการด้าน Carbon Credit พลาสติกรีไซเคิล อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน คาดยอดขาย EV Car เพิ่มเป็น 30,000 คันในปี 2566 จาก 12,000 คันในปี 2565 3. ธุรกิจท่องเที่ยว ใช้รถน้อยแต่จ่ายเบี้ยแพงอยู่ใช่ไหม? ประกันขับดีFlexiDrive ประหยัดกว่าประกันเหมาจ่ายทั่วไปกว่า70% เช็กราคา โรงแรม ร้านอาหาร ขนส่ง ค้าปลีก รับอานิสงส์จากการฟื้นตัวของการท่องเที่ยว คาดรายได้โรงแรมเติบโตกว่า 40% / รายได้ร้านอาหารเติบโต 7.4% จากปีก่อน ที่มา : ธนาคารกสิกรไทย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์ https://mgronline.com/smes/detail/9660000007298
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสังคม
30/04/2024
“ประกันสุขภาพ” เป็นหนึ่งในเครื่องมือทางการเงินที่ช่วยบริหารความเสี่ยงจากเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพราะการรักษาพยาบาลทุกครั้งนำมาซึ่งค่าใช้จ่าย และอาจทำให้เงินเก็บหรือเงินที่เราสำรองไว้ใช้จ่ายลดลง ดังนั้น การซื้อประกันสุขภาพจึงเป็นตัวช่วยสำคัญในการบริหารความเสี่ยงแต่การเลือกซื้อประกันแต่ละครั้งไม่ใช่เรื่องง่าย มีกรมธรรม์หลากหลายให้เราเลือกซื้อ ซึ่งเงื่อนไขความคุ้มครองก็แตกต่างกันไป และมักจะมีรายละเอียดยิบย่อยค่อนข้างมาก ดังนั้นก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพ จึงควรศึกษาข้อมูลกรมธรรม์อย่างถี่ถ้วน วันนี้ Wealthy Thai ก็มี 4 ข้อควรรู้ เพื่อให้ผู้อ่านเช็คตัวเอง ก่อนตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพมาฝาก1. ประเมินความเสี่ยงของตัวเองสิ่งที่ต้องทำอย่างแรกคือประเมินความเสี่ยงของตัวเอง มีโรคทางพันธุกรรมและโรคประจำตัวหรือไม่ การใช้ชีวิตปัจจุบันเป็นอย่างไร สภาพการทำงาน สภาพแวดล้อม ที่อยู่อาศัย มีความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดการเจ็บป่วยมากน้อยขนาดไหน และเมื่อเกิดการเจ็บป่วยต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลจะต้องจ่ายค่ารักษาเท่าไหร่ เราสามารถรับความเสี่ยงด้านค่าใช้จ่ายส่วนนี้ได้หรือไม่2. เช็คสวัสดิการที่มีในปัจจุบันลำดับถัดมาหลังจากประเมินความเสี่ยงของตัวเองแล้ว ให้กลับมาเช็คว่าปัจจุบันเรามีสวัสดิการอะไรบ้าง เช่น สิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า (บัตรทอง) สิทธิประกันสังคม หรือสิทธิประกันกลุ่มของบริษัทที่ทำงาน ซึ่งบางครั้งบริษัทขนาดใหญ่จะไม่มีประกันกลุ่ม แต่พนักงานสามารถเบิกค่ารักษาพยาบาลได้ในวงเงินที่สูง ซึ่งเราต้องนำสวัสดิการที่มีเหล่านั้นมาประเมินว่าเพียงพอต่อความต้องการและครอบคลุมความเสี่ยงในชีวิตแล้วหรือยัง หากทุนประกันที่ประเมินจากสวัสดิการยังไม่เพียงพอ การซื้อประกันสุขภาพก็จะช่วยตอบโจทย์เราได้3. เลือกความคุ้มครองที่เหมาะสมความคุ้มครองที่สูงมักมาพร้อมค่าเบี้ยประกันที่สูงตามไปด้วย ดังนั้นเราควรประเมินค่าเบี้ยประกันที่สามารถจ่ายได้ในระยะยาว และควรเลือกกรมธรรม์ที่ให้ความคุ้มครองตรงกับความต้องการจริงๆ เช่น ประกันสุขภาพแบบจ่ายตามตารางความคุ้มครองที่กำหนด หรือประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายตามจริงที่มีการกำหนดวงเงินค่าห้องและค่ารักษาพยาบาลแต่ละครั้ง ซึ่งจะมีค่าเบี้ยประกันสูงกว่า และ วงเงินคุ้มครอง เช่น กรณีผู้ป่วยในและผู้ป่วยนอก จะมีการกำหนดวงเงินต่อครั้งต่อโรค วงเงินต่อปี หรือจำนวนครั้งสูงสุดในรอบปีกรมธรรม์ เป็นต้น4. ศึกษาเงื่อนไขกรมธรรม์และการเรียกร้องสินไหมสุดท้ายก่อนการตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพทุกครั้ง เราต้องศึกษาข้อมูลต่างๆอย่างถี่ถ้วน เพราะบริษัทประกันแต่ละแห่งอาจมีเงื่อนไขในการรับประกันและเรียกร้องสินไหมที่แตกต่างกันไป เช่น ข้อยกเว้นในการไม่คุ้มครองโรคต่างๆ ระยะเวลาการรอคอยซึ่งประกันยังไม่คุ้มครองหลังจากกรมธรรม์อนุมัติ และช่องทางการเรียกร้องค่าสินไหมต่างๆ เป็นต้นปัจจุบันประกันสุขภาพในตลาดมีหลากหลาย เงื่อนไขและความคุ้มครองก็จะแตกต่างกันออกไป ดังนั้น Wealthy Thai อยากเน้นย้ำให้ผู้อ่านทุกท่านศึกษารายละเอียดและเงื่อนไขกรมธรรม์อย่างละเอียด เพื่อให้ตอบโจทย์ความต้องการทั้งด้านสุขภาพและการเงินมากที่สุดแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับwealthythaihttps://www.wealthythai.com/en/updates/insurance/12409
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
การลงทุน ไม่ใช่วิ่ง 100 เมตรที่ผู้ชนะจะต้องอัดพลังสุดๆ ในช่วงเวลาสั้นๆ 10 กว่าวินาที เสียงปืนดัง มีเท่าไหร่ใส่ให้สุดแรง ใครเข้าเส้นชัยที่ท้ายๆ ดูไร้ความหมายแต่การลงทุนเหมือนการวิ่งมาราธอน (42 กม.)ที่ผู้ชนะ ต้องรู้จักผ่อนสั้น ผ่อนยาว ใช้เวลาอยู่ในสนามยาวนาน อย่าเจ็บ อย่าจุก เราวิ่งไปเรื่อยๆด้วยความเร็วของเราใครเข้าเส้นชัยได้ มีความหมายทุกคนไม่ซีเรียสใครจะแซงเราไป ไม่ลิงโลดเวลาเราแซงใครๆ เราวิ่งไปเรื่อยๆบางจังหวะก็วิ่งได้เร็ว บางจังหวะก็ต้องวิ่งช้า บางช่วงอาจต้องหยุดบ้าง เพื่อแวะกินน้ำ กินแตงโมเสียบไม้ การลงทุนนี่คล้ายกันมากเลย บางปีมันดีมากๆ บางปีก็งั้นๆ และบางปีก็ไม่ดีเลย และนักลงทุนต้องขยันซ้อมนะ อ่านๆๆ เก็บข้อมูลๆๆๆ ฟังคลิปๆๆ ดูOppDayๆๆ เอามาเลือกๆๆ แล้วค่อยทยอยใส่เงินจริงไม่มีทางลัด ไม่มีวิธีรวยเร็ว ไม่มีซื้อวันนี้แล้วพรุ่งนี้เขียวจัดทันใจทุ่มเทศึกษา สะสมความรู้และประสบการณ์ทำต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลาหลายๆปี ผลตอบแทนที่ได้ จะแปรผันตาม ความขยันความทุ่มเท (ในการอ่านข้อมูล ฟังคลิป ดูOppDay วิเคราะห์และลงทุนซ้ำๆๆ) ที่เราพากเพียรใส่ความพยายามลงไปเหมือนกับวิ่ง ที่ต้องซ้อมวิ่งสม่ำเสมอ ทำซ้ำสม่ำเสมอ เบื่อก็ซ้อม ขี้เกียจก็ต้องซ้อม ขยันก็ยิ่งต้องซ้อมแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับstock2morrowhttps://stock2morrow.com/article/5205
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
‘ทีดีอาร์ไอ’ พบสังคมสูงวัยกำลังมาถึง แต่ความพร้อมคนไทยยังต่ำ ชี้เงินออมถูกดูดเข้าสู่ เส้นทาง ‘การพนัน’ มากกว่า ‘ลงทุน’ พร้อมเปิดแนวทางพัฒนาเส้นทางการลงทุน ปรับโครงสร้าง ‘ผู้ออม-ธุรกิจ-ตัวกลาง-ภาครัฐ’ อย่างเป็นระบบและเท่าเทียม ดัน ‘นักลงทุนVI’ หนุนเทรดหุ้นไร้ค่าฟี สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย(ทีดีอาร์ไอ) ได้สำรวจการเตรียมความพร้อมด้านการออมของคนไทย ซึ่งพบว่า คนอายุ 20-30 ปี มองว่าเมื่อถึงวัยเกษียณต้องการเงินใช้ต่อเดือนเพียง 20,000-30,000 บาท แต่ถ้าสอบถามคนอายุ 40-50 ปี กลับพบว่าความต้องการเงินใช้ต่อเดือนจะเพิ่มเป็นเดือนละ 50,000 บาท ในขณะที่คนอายุ 60 ปี ยังคงต้องการทำงานต่อไป สะท้อนได้ว่า สังคมสูงวัยกำลังมาถึง แต่คนไทยเตรียมพร้อมต่ำ ขณะเดียวกันปัจจุบัน การสร้างเงินออมของคนไทย กลับมาเจอทาง 2 แพร่ง คือ “ เส้นทางการพนัน” มีคนไทยเล่นการพนันถึง 32 ล้านคน มีนักพนันหน้าใหม่เกิดขึ้นประมาณปีละ 800,000 คน การเติบโตของนักพนันเกิดขึ้นมากในกลุ่มการพนันออนไลน์ เนื่องจากสะดวก ง่าย เล่นได้ทุกที่ ทุกเวลา เฉพาะในบ่อนออนไลน์ มีเงินหมุนเวียนกว่า 100,000 ล้านบาท โดยมีนักพนันราว 2 ล้านคน ส่วนอีกเส้นทาง คือ “เส้นทางการลงทุน” กลับมีนักลงทุนเปิดบัญชีเพียง 2-3 ล้านราย(ไม่นับซ้ำ) สมาชิกกองทุนต่างๆ 17-20 ล้านราย ลูกค้าที่ Active ซื้อขายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต 400,000-600,000 คน มีมูลค่าเงินหมุนเวียน ประมาณ 1-1.5 ล้านล้านบาท นี่เป็นโจทย์สำคัญของประเทศไทย ที่ต้องมีการพัฒนา ก้าวสู่ “การมีบริการทางการเงินที่เท่าเทียม” โดยในงานเปิดตัวแพลตฟอร์มเทรดหุ้นไร้ค่าธรรมเนียม โดยบริษัทหลักทรัพย์ ลิเบอเรเตอร์ จำกัด (มหาชน) ได้เชิญนักวิชาการและนักลงทุนเน้นมูลค่ามาพูดคุยถึงการแก้โจทย์ดังกล่าว “นณริฏ พิศลยบุตร” นักวิชาการอาวุโสสถาบันวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่า การพัฒนาเส้นทางการลงทุน ต้องปรับโครงสร้าง ทั้งในฝั่งผู้ออม ต้องได้รับการปลูกฝังปัญหาลัทธิการบริโภคนิยม ความสำคัญของการออม และความรู้ด้านความเสี่ยงจากการลงทุน ขณะที่ฝั่งภาคธุรกิจ ต้องมีผลิตภัณฑ์การออมที่หลากลาย ( Variety of product) ทั้งผลตอบแทนและความเสี่ยง มีผลิตภัณฑ์ต่างประเทศ อีกทั้ง ต้องมีผลิตภัณฑ์การออมแบบคุ้มค่ากับเงินที่จ่าย (Value for Money) ฝั่งตัวกลาง มี 2 ประเภท คือ 1. ตัวกลางประเภท transaction เน้นค่าฟีถูก หรือไม่มีค่าฟี และ2. ตัวกลางประเกทข้อมูล เน้นมีบทวิเคราะห์ และมีค่าฟีได้ มีประสิทธิภาพก มีกองทุนผ่านการแข่งขัน และผู้บริหารระดับโลก “การเข้ามาของธุรกิจบล.ไร้ค่าธรรมเนียมเทรดหุ้น มองว่า ก็ไม่ได้มาดิสรับ ธุรกิจ บล. ดั่งเดิม แต่อย่างใด ดังนั้น เมื่อมีทางเลือก ตัวกลางไร้ค่าคอมเกิดแล้ว ก็ขึ้นอยู่กับว่านักลงทุนจะใช้โอกาสนี้หรือไม่” ขณะที่ภาครัฐ ต้องมองภาพอย่างเป็นระบบทั้งเรื่องหวย กับ หุ้น ต้องใช้ตลาดทุนเป็นเครื่องมือสร้างการลงทุนเพื่อการออม ขณะที่มองการเก็บภาษีขายหุ้น เป็นการทำลายสภาพคล่องของตลาดทุน ไม่ถอนขนห่านทองคำ แต่ควรใช้ตลาดทุนเป็นเครื่องมือสร้างความมั่งคั่งให้กับคนไทย มีเงินออมเตรียมพร้อมสู่วัยเกษียณ “นณริฏ” กล่าวอีกว่า “ธุรกิจหลักทรัพย์” มีความสำคัญมาก และยิ่งไม่มีค่าธรรมเนียม จะช่วยดึงคนเข้าสู่เส้นทางการลงทุนได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม เป็นการคนไทยเตรียมความพร้อมสู่สังคมสูงวัยได้ และยังช่วยแก้ไขปัญหาสังคม ไม่ให้คนเอาเงินออมไปใช้ในเส้นทางการพนัน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่อยู่บ่อนพนันออนไลน์และกลุ่มเยาวชน “เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญ” นายกสมาคมนักลงทุน เน้นคุณค่า (ประเทศไทย) กล่าวว่า การลงทุนแนวใหม่สำหรับนักลงทุนเน้นคุณค่า คือ นักลงทุนที่เติบโตไปพร้อมกับตลาดทุน ด้วยการมีข้อมูลและมีความรู้การลงทุนของคนที่มีประสบการณ์ ทำให้สามารถตัดสินใจลงทุนได้ด้วยตัวเองอย่างถูกวิธี เมื่อสามารถเทรดหุ้นโดยไม่ต้องจ่ายค่าธรรมเนียมมองว่า เป็นทางเลือกใหม่ของการลงทุน ที่เปิดโอกาสให้กับคนหมู่มาก อีกเป็นสิบล้านๆคน เดินเข้าสู่เส้นทางการลงทุนในตลาดทุนไทยได้อย่างเท่าเทียมและเป็นธรรม ย่อมส่งผลดีต่อทั้งอุตสาหกรรมที่จะมีสภาพคล่องเพิ่มขึ้น และจะยิ่งเป็นตัวทวีคูณสร้างการเติบโตให้กับประเทศไทยในระยะข้างหน้า "นักลงทุนรายย่อยที่มีความรู้และประสบการณ์ลงทุนอยู่แล้ว น่าจะชอบการเทรดหุ้นเสรีไร้ค่าคอมฯ ขณะที่คนอีกเป็นจำนวนมาก ที่ไม่เคยรู้จักตลาดหุ้นมาก่อน มีโอกาสตัดสินใจเข้ามามากขึ้นแต่ธุรกิจบล. ก็ต้องมีการส่งข้อมูลการลงทุนให้เกิดความเท่าเทียมและเป็นธรรม ระหว่างนักลงทุนรายใหญ่และรายย่อยด้วย” ขณะที่การเก็บภาษีขายหุ้น ยังมองว่า “เป็นสิ่งที่ได้ไม่คุ้มเสีย” ควรเก็บให้ถูกที่ เพราะปัจจุบันตลาดทุนไทยเป็นเครื่องมือทำให้เกิดธุรกรรมนอกระบบลดลง บริษัทดีๆสามารถเข้ามาอยู่ในระบบ คือ ระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ฯได้ อย่างปีนี้มียื่นไฟลิ่งเป็นร้อยบริษัท บริษัทต่างๆสร้างการเติบโตได้เพิ่มขึ้น มีการจ่ายภาษีอย่างถูกต้องและมากขึ้น ทำให้ภาครัฐสามารถเก็บภาษีอื่นๆได้มากกว่าเก็บภาษีขายหุ้น อีกทั้งมองว่า การเก็บภาษีขายหุ้น เหมือนเก็บเล็กเก็บน้อย ยิ่งทำให้เสียเซ็นทริเม้นท์การลงทุนไปอีก คำแนะนำ สำหรับการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ให้นักลงทุนยืนระยะและประสบความสำเร็จ ร่ำรวยได้นั้น “ไม่ยากอย่างที่คิด” แต่ต้องเริ่มจากการปรับมายเซ็ทของตัวเองก่อน คือ “ไม่ตกใจขาย ดีใจซื้อ” ต้องเลือกลงทุนเน้นหุ้นกิจการที่ดีและเติบโต “ซื้อสิ่งที่ดี ถือให้ขึ้นไป เอ็นจอยกับการเติบโต” แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับกรุงเทพธุรกิจ https://www.bangkokbiznews.com/finance/stock/1048859
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
ย้อนเหตุการณ์ “เงินหายจากบัญชีไม่รู้ตัว” คนไทยเจอแบบไหนมาแล้วบ้าง และมีวิธีป้องกันอย่างไร แก๊งคอลเซ็นเตอร์ หนึ่งในมิจฉาชีพที่สังคมไทยเจอมาโดยตลอด ตั้งแต่ยุคของการเริ่มต้นเทคโนโลยี มาจนถึงวันนี้ที่เทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก ยิ่งในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา วิธีการหลอกลวงของเหล่าแก๊งคอลเซ็นเตอร์ พัฒนาอย่างต่อเนื่อง ประหนึ่งโทรศัพท์สมาร์ตโฟนที่คอยอัพเดตตัวเองให้เป็นเวอร์ชั่นใหม่ วิ่งตามเทคโนโลยีที่เปลี่ยนไปด้วย แม้ว่าทุกภาคส่วนจะพยายามช่วยเหลือให้ความรู้ เพื่อรู้ทันกลโกงมากขึ้น แต่ในทุก ๆ วัน ยังมีผู้เสียหายจากการหลอกลวงของแก๊งคอลเซ็นเตอร์อยู่ตลอด และเราทุกคนจะป้องกันได้อย่างไร “ประชาชาติธุรกิจ” ชวนย้อนดูรูปแบบกลโกง เงินหายไม่รู้ตัว พร้อมวิธีการป้องกัน ไม่ให้ตกเป็นเหยื่อคนต่อไป ทำแอปฯ ปลอม เพื่อดูดเงินจริง กลลวงมิจฉาชีพที่อาศัยการทำแอปพลิเคชั่นหนึ่งขึ้นมา ซึ่งอาศัยการส่งลิงก์ให้ดาวน์โหลดเท่านั้น ไม่มีการให้ดาวน์โหลดใน App Store บนมือถือ โดยไส้ในของแอปฯ นี้ ไม่ได้มีแค่หน้าตาของแอปฯ ที่มีความคล้ายคลึงกับแอปฯ ตัวจริง หรืออาจเป็นหน้าตาใหม่ที่ดูไม่คุ้นเคย ประหนึ่งว่านี่คือแอปพลิเคชั่นใหม่ และยัดไส้แอปฯ ไว้ด้วยไวรัสต่าง ๆ ที่เจาะข้อมูลตัวเครื่องได้ เมื่อเจาะเข้าระบบเครื่องได้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว มิจฉาชีพก็จะอาศัยจังหวะเข้าแอปฯ ต่าง ๆ ภายในเครื่อง ระหว่างที่เราอาจจะละสายตาจากสมาร์ตโฟน หรือชาร์จแบตเตอรี่สมาร์ตโฟนทิ้งไว้ โดยเข้าสู่ระบบ Mobile Banking ของธนาคารและเข้าไปแก้ข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะวงเงินการโอนเงินไปบัญชีธนาคารต่าง ๆ ให้มีจำนวนที่สูงขึ้น ก่อนจะโอนเงินออกจากบัญชีในที่สุด และเหลือไว้เพียงยอดเงินหลักหน่วยจนถึงไม่เหลือเลย กรณีดังกล่าวเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีผู้เสียหายมีรายการโอนเงินไปสู่คนอื่นเป็นจำนวนสูง และไม่รู้จักกับบัญชีปลายทางแต่อย่างใดและไม่มีธุรกรรมอะไรที่ต้องทำ เช่น โอนเงินเพื่อซื้อของ โอนเงินจ่ายค่าอาหาร เป็นต้น สวมเว็บปลอม หลอกเอาข้อมูล (ตบท้ายด้วยดูดเงิน) การทำเว็บไซต์ปลอม หนึ่งในวิธีคลาสสิกที่เจอได้บ่อย ตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของระบบอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยอาศัยการออกแบบหน้าเว็บไซต์ให้ดูเหมือนว่าเป็นเว็บไซต์ของหน่วยงานรัฐ หรือเว็บไซต์ของธนาคารต่าง ๆ จริง เมื่อเหยื่อเชื่อว่าเป็นเว็บไซต์จริงของหน่วยงานนั้น ๆ ก็กลายเป็นช่องทางที่มิจฉาชีพดักเอาข้อมูลสำคัญต่าง ๆ เพื่อนำไปใช้ในทางที่ไม่ดี ไม่ว่าจะเป็น Username Password เลขบัตรประจำตัวประชาชน เลข Laser ID หลังบัตรประชาชน เป็นต้น เมื่อมิจฉาชีพได้ข้อมูลสำคัญเหล่านี้แล้ว ก็จะจบด้วยการที่เข้าไปเว็บไซต์จริง เพื่อโอนเงินออกจากบัญชีเหยื่อ หรือมิจฉาชีพเอง อาจสวมรอย นำข้อมูลต่าง ๆ ไปทำธุรกรรมต่าง ๆ เอง ซึ่งเจ้าของข้อมูลตัวจริงไม่ทราบเรื่อง และอาจทำให้โดนหางเลขความผิดต่าง ๆ ไปด้วย ทั้งที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ เลย ทำตัวเนียน อ้างเป็นแอป/บริการต่าง ๆ การปลอมเป็นแอปพลิเคชั่นหรือบริการต่าง ๆ เป็นอีกหนึ่งวิธีการที่พบได้บ่อย โดยมิจฉาชีพจะอ้างเป็นบริการต่าง ๆ ส่งอีเมลหรือข้อความเพื่อให้เข้าไปทำธุรกรรม โดยอาศัยอุบายว่า มีปัญหาเรื่องการชำระค่าบริการ และขอให้ลูกค้ากรอกข้อมูลบัตรเครดิต/บัตรเดบิต เพื่อให้ทำรายการให้สำเร็จ หากมีข้อความ OTP ส่งเข้ามา แต่ไม่ได้กรอก ก็ถือเป็นความโชคดีที่ไม่ตกเป็นเหยื่อ แต่หากให้รหัส OTP ไปแล้ว ก็กลายเป็นเหยื่อที่ถูกดูดเงินไปโดยปริยาย หนึ่งในจุดที่หลายคนอาจไม่ได้สังเกต คือ ข้อมูลผู้ส่ง (Sender) โดยเฉพาะผู้ที่ได้ข้อความทางอีเมล อาจสังเกตแค่ชื่อผู้ส่งว่ามาจากแอปพลิเคชั่นหรือผู้ให้บริการต่าง ๆ แต่ไม่ทันสังเกตอีเมลผู้ส่งว่า ไม่ใช่ E-Mail Address ตัวจริงของผู้ให้บริการรายที่ถูกกล่าวอ้าง ใช้ Remote Access อาศัยช่อง ดูดเงินในบัญชี กลลวงนี้ ถือเป็นกลลวงที่ยุคใหม่เป็นอย่างมากสำหรับการโจรกรรม ต่อยอดจากการหลอกลวงปกติที่เคยทำ อย่างการส่งข้อความอ้างว่ามีการกระทำความผิด ให้ติดต่อที่บัญชีไลน์ (LINE Account) ของหน่วยงานที่อ้างขึ้นมา และมิจฉาชีพจะแนะนำให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชั่น Remote Access หรือแอปพลิเคชั่นที่ช่วยในการควบคุมอุปกรณ์จากระยะไกล เมื่อทำตามขั้นตอนที่มิจฉาชีพแนะนำแล้ว มิจฉาชีพก็จะทำขั้นตอนต่อไป คือ การพูดคุยกับเหยื่อ ชวนคุยไปเรื่อย ๆ เพื่อให้ผู้เสียหายหลุดโฟกัสจากการดูโทรศัพท์มือถือของตัวเอง และมิจฉาชีพก็จะอาศัยช่วงเวลานี้ เข้าถึงหน้าจอมือถือและทำรายการต่าง ๆ โดยที่เราอาจไม่ทันสังเกต นับเป็นอีกหนึ่งกลโกงของมิจฉาชีพที่น่ากลัวไม่น้อย เพราะข้ามขั้นจากการดักเอาข้อมูลส่วนตัวและข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับการทำธุรกรรม ขยับขึ้นมาเป็นการเข้าถึงมือถือและเข้าไปทำธุรกรมด้วยตัวเองแทน อาศัยบอทสุ่มเลขบัตร ตัดเงินไม่ทันตั้งตัว สำหรับกลโกงนี้ นับเป็นกลโกงที่ล้ำสมัยจนใครก็ไม่ทันตั้งตัว เพราะมิจฉาชีพจะอาศัยระบบบอทในการสุ่มเลขบัตรเดบิต/เครดิต และข้อมูลต่าง ๆ เพื่อนำข้อมูลเหล่านี้ไปทำธุรกรรมต่าง ๆ โดยเฉพาะการซื้อของออนไลน์ วิธีการนี้ ทำให้มีผู้ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ถูกนำข้อมูลไปใช้กับเว็บไซต์ที่สามารถตัดเงินได้เลยโดยไม่ต้องเข้าระบบ 3D-Secure แต่อย่างใด และความเสียหายที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้บัตรเฉพาะในประเทศไทย มีมูลค่ามากถึงหลักร้อยล้านบาท และทำธนาคารต่าง ๆ ร้อน ๆ หนาว ๆ หาวิธีการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับความเสียหายครั้งนี้โดยด่วน วิธีรับมือภัยไซเบอร์ใกล้ตัวคนไทย ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยวิธีการรับมือ 3 กลุ่มกลลวงของมิจฉาชีพที่คนไทยพบบ่อยและใกล้ตัวคนไทยมากที่สุด ดังนี้ 1. มิจฉาชีพบน Social Media 1. อย่าหลงเชื่อข้อความผ่านแชทเพื่อขอให้โอนเงินหรือขอข้อมูลใด ๆ หาก ผู้ส่งข้อความเป็นเพื่อน ควรติดต่อเพื่อนโดยตรงผ่านช่องทางอื่นเพื่อยืนยัน ตัวตนและจุดประสงค์ก่อน 2. ควรตรวจสอบสลิปโอนเงินจากผู้โอนให้มั่นใจก่อนยืนยันการโอนเงิน ทุกครั้ง 2. อีเมลหลอกลวง (Phishing) ตรวจสอบผู้ส่ง เนื้อหาและลิงก์ภายในอีเมลโดยละเอียดก่อนตอบกลับหรือให้ข้อมูลใด ๆ ทุกครั้ง โดยใช้หลัก S.U.R.G.E 1. S (Sender) – สังเกตชื่อผู้ส่ง หากเขียนผิดหรือไม่สอดคล้อง ให้สงสัยไว้ก่อน 2. U (Unusual Activity) – หากมีคนหรือหน่วยงานที่เราติดต่อด้วย ส่งข้อความมาในรูปแบบหรือมีพฤติกรรมที่ผิดปกติ ต้องระวัง 3. R (Relationship) – อย่าหลงเชื่อคนแปลกหน้าที่ส่งข้อความมาขอความช่วยเหลือ 4. G (Grammar) – หากเนื้อความมีการพิมพ์ผิดหลายคำ หรือแปลไม่ตรงหลักภาษา ต้องระวัง 5. E (External Link) – ตรวจสอบลิงก์ที่แนบมากับอีเมลที่ได้รับ 3. การขโมยข้อมูลส่วนบุคคล (Data Theft) 1. ไม่ให้ข้อมูลสำคัญกับเว็บไซต์หรือบริการใด ๆ หากไม่จำเป็น 2. หมั่นติดตามข่าวสารด้าน Cybersecurity อย่างสม่ำเสมอ หากพบว่ามีข่าวเว็บไซต์หรือบริการที่ท่านใช้งานอยู่ถูกขโมยข้อมูลไป ควรรีบเปลี่ยนรหัสผ่านหรือดำเนินการต่าง ๆ เพื่อป้องกันหรือลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น เช่น อายัดบัตรเครดิตทันที นอกจากวิธีการเหล่านี้แล้ว สิ่งสำคัญที่ลืมไม่ได้ คือ การใช้อุปกรณ์ที่มีการอัพเดตเวอร์ชั่นของอุปกรณ์อยู่เสมอ เพื่อความปลอดภัยจากภัยไซเบอร์อื่น ๆ ที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย และต้องไม่ทำพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อไม่ให้เสี่ยงต่อการตกเป็นเหยื่อภัยไซเบอร์ และไม่เกิดความเสียหายอื่น ๆ ที่จะตามมาด้วย แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/finance/news-1180540
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ภาษี
30/04/2024
ไขข้อสงสัย “เงินปันผลกับการเสียภาษี” จ่ายยังไง แล้วได้คืนไหม? เมื่อกิจการมีผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น หรือเรียกว่า "เงินปันผล" การจ่ายเงินปั่นผลให้กับผู้ถือหุ้นนั้นควรต้องทำจ่ายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ประชุมหรือกรรมการลงมติ วิธีการจ่าย “เงินปันผล” ให้กับผู้ถือหุ้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง เมื่อกิจการมีผลประกอบการดีมีผลกำไรที่จะต้องจ่ายผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้น หรือที่เรียกว่า “เงินปันผล” นั่นเอง ซึ่งการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นนั้นควรต้องทำจ่ายภายในระยะเวลา 1 เดือน นับตั้งแต่วันที่ประชุมใหญ่หรือกรรมการลงมติ ขั้นตอนการจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้นมีรายละเอียดดังนี้ จ่ายเงินปันผลยังไง จ่ายช่วงไหนได้บ้าง การปันผลกำไรที่ได้ของบริษัทคืนแก่ผู้ถือหุ้นทุกคนตามสัดส่วนของเงินลงทุน เรียกว่า “เงินปันผล” โดยสามารถนำจ่ายได้ 2 ลักษณะ คือ 1. เงินปันผลระหว่างกาล เมื่อคณะกรรมการสามารถลงมติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลให้แก่ผู้ถือหุ้นได้เป็นครั้งคราว และหากมีข้อบังคับของบริษัทกำหนดไว้ให้ทำได้ ทั้งนี้บริษัทต้องมีกำไรสมควรพอที่จะทำเช่นนั้นได้ และจำเป็นต้องรายงานให้ที่ประชุมผู้ถือหุ้นทราบในการประชุมครั้งต่อไปด้วย 2. เงินปันผลประจำปี เป็นเงินปันผลที่ประกาศโดยบริษัทช่วงหลังปิดงบประจำปี โดยต้องผ่านมติของที่ประชุมผู้ถือหุ้น จึงจะประกาศจ่ายเงินปันผลได้ เป็นการจ่ายเงินปันผลวาระปกติ “เงินปันผล” ที่ได้ ต้องเสียภาษีอย่างไร ก่อนการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น ทางกิจการจะนำกำไรที่ได้ในส่วนนี้ซึ่งเป็นเงินหลังหักภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้วมาปันผล จากนั้นก่อนที่จะมีการจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น กิจการจะต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ก่อนที่จะจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้นอีกด้วย และส่งแบบยื่นเพื่อชำระภาษีภายในวันที่ 7 ของเดือนถัดไป แบบยื่นภาษีที่ต้องนำส่งและอัตราที่ต้องจ่าย มีรายละเอียดดังนี้ - นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย ไม่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ภ.ง.ด.2) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% - นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ (ภ.ง.ด.2) ได้รับยกเว้น ไม่ถูกหักภาษี ณ ที่จ่าย - คนไทย (ภ.ง.ด.2) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% - นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศ รวมถึงชาวต่างชาติ (ภ.ง.ด.2/ภ.ง.ด.54) หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ผู้ถือหุ้นขอคืนภาษีได้หรือไม่ จากข้อมูลที่กล่าวแล้วในตอนต้นเกี่ยวกับอัตราการ หักภาษี ณ ที่จ่าย 10% ของเงินปันผลนั้น ซึ่งในส่วนของผู้ถือหุ้นที่ได้รับเงินปันผลนั้น ยังต้องพิจารณาทางเลือกในการเสียภาษีบุคคลธรรมดา โดยสามารถเลือกปฏิบัติได้ 2 แบบ คือ 1. หากเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย 10% แล้ว ไม่จำเป็นต้องนำเงินปันผลมารวมคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาของหุ้นส่วนตอนสิ้นปี โดยใช้สิทธิ Final tax 2. สามารถนำภาษีเงินปันผลที่ถูกหักไว้แล้วยื่นขอคืนภาษีได้ ต่อเมื่อนำเงินปันผลที่ได้รับมารวมคำนวณภาษีบุคคลธรรมดาตอนสิ้นปี ข้อควรจำหากใช้เครดิตภาษีเงินปันผลแล้ว จะต้องนำเงินปันผลทุกรายการที่ได้รับมาคำนวณทุกรายการ ไม่สามารถเลือกเพียงบางรายการได้ ศึกษาเรื่อง “เงินปันผล” ให้ดี เพื่อประโยชน์ของตนเอง จากข้อมูลด้านบนเป็นหลักการจ่ายเงินปันผล ซึ่ง “เงินปันผล” ที่ได้ คือ รายได้จากผลกำไรของกิจการนั้นๆ และเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับนั้นจะถูกหักภาษีไว้ตามกฎหมายข้อบังคับ ทั้งนี้ ยังสามารถนำภาษีที่ยื่นจ่ายทั้งหมดมาคำนวณเพื่อเรียกคืนภาษีได้อีกด้วย ฉะนั้นผู้ถือหุ้นควรศึกษาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงินปันผล เพราะทุกอย่างล้วนแต่เป็นผลประโยชน์ของผู้ถือหุ้นทั้งสิ้น แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับโพสต์ทูเดย์ออนไลน์ https://www.posttoday.com/columnist/689434
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันภัย
30/04/2024
จากบทความ “จะซื้อประกันชีวิตเจ้าไหนดี มีวิธีเลือกอย่างไร” ที่ได้กล่าวถึงแบบประกันชีวิตว่ามีทั้งหมด 5 แบบ คือ ประกันตลอดชีพ ประกันแบบชั่วระยะเวลา ประกันแบบสะสมทรัพย์ ประกันแบบบำนาญ และประกันชีวิตควบการลงทุน (Unit Linked)ทั้ง 5 แบบนี้จะเรียกว่าสัญญาหลัก แต่นอกเหนือจากสัญญาหลักทั้ง 5 แบบนี้แล้วยังมีสัญญาเพิ่มเติมที่เราสามารถซื้อเพิ่มเติมได้ยกตัวอย่างเช่นประกันสุขภาพ ซึ่งต้องซื้อพ่วงกับสัญญาหลัก แล้วสัญญาเพิ่มเติมมีอะไรบ้าง มีข้อแตกต่างจากสัญญาหลักอย่างไร ติดตามได้จากบทความนี้สัญญาเพิ่มเติมแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลักๆดังนี้1. สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มสุขภาพสัญญาเพิ่มเติมกลุ่มสุขภาพนี้หลายๆท่านน่าจะคุ้นเคยกันดีกับคำว่าประกันสุขภาพ นั่นคือความคุ้มครองด้านสุขภาพนั่นเอง ซึ่งแบ่งย่อยๆ ได้เป็น 3 ประเภทดังนี้ • คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล จะเป็นความคุ้มครองด้านค่ารักษาพยาบาลไม่ว่าจะเป็นผู้ป่วยใน (IPD) หรือ ผู้ป่วยนอก (OPD) แล้วแต่ว่าเราจะเลือกทำแบบไหนหรือทั้งสองแบบ ซึ่งจะมีวงเงินสูงสุดสำหรับความคุ้มครองในแต่ละครั้งของการรักษา • คุ้มครองโรคร้ายแรง จะเป็นความคุ้มครองโรคร้ายแรงต่างๆ เช่น กลุ่มมะเร็ง, กลุ่มโรคหัวใจ, กลุ่มโรคเกี่ยวกับระบบประสาท โดยแต่ละบริษัทประกันจะระบุว่าคุ้มครองโรคร้ายแรงอะไรบ้าง เมื่อผู้ทำประกันเป็นโรคร้ายแรงบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาตามค่ารักษาจริงแต่ไม่เกินค่าสูงสุดที่ระบุไว้ หรือในบางแบบจะเป็นแบบ เจอ จ่าย จบ คือเมื่อตรวจพบว่าเป็นโรคร้ายแรงตามที่ระบุจะจ่ายเป็นเงินก้อนมาเลย และสัญญาเพิ่มเติมเป็นอันสิ้นสุด • คุ้มครองค่าชดเชยรายวัน เป็นความคุ้มครองในกรณีที่นอนพักที่โรงพยาบาลหรือเป็นผู้ป่วยใน (IPD) นั่นเอง โดยจะจ่ายเงินชดเชยเป็นรายวันตามที่เราเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยในตามจริงสูงสุดตามจำนวนเงินที่เราทำประกันไว้ในส่วนของค่าชดเชยรายวัน2. สัญญาเพิ่มเติมกลุ่มอุบัติเหตุเป็นสัญญาเพิ่มเติมคุ้มครองในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุ โดยจะคุ้มครองใน 4 ลักษณะคือ • เสียชีวิต คุ้มครองในกรณีที่เสียชีวิตเนื่องจากอุบัติเหตุ เพิ่มเติมจากแบบสัญญาหลัก • สูญเสียอวัยวะ คุ้มครองในกรณีเสียอวัยวะเนื่องจากอุบัติเหตุ โดยสัญญาจะระบุมาเลยว่าเป็นอวัยวะใดบ้าง เช่น มือ, เท้า, ตา, นิ้ว • ทุพพลภาพ คุ้มครองในกรณีทุพพลภาพเนื่องจากอุบัติเหตุ จะแบ่งเป็น ทุพพลภาพชั่วคราวบางส่วน และทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร • ค่ารักษาพยาบาล คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเนื่องจากการอุบัติเหตุ โดยจะมีวงเงินสูงสุดสำหรับการรักษาในแต่ละครั้งของการเกิดอุบัติเหตุ • อื่นๆ3. สัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ นอกเหนือจากสุขภาพและอุบัติเหตุ ดังนี้ • สัญญาเพิ่มเติมยกเว้นเบี้ยประกันเมื่อผู้เอาประกันหรือผู้ชำระเบี้ยเป็นผู้ทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวรเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่จะยกเว้นเบี้ยประกันภัยสำหรับสัญญาหลักในกรณีผู้เอาประกันภัยตกเป็นบุคคลทุพพลภาพสิ้นเชิงถาวร โดยจะยกเว้นเบี้ยเฉพาะแบบสัญญาหลักเท่านั้น ไม่ได้ยกเว้นเบี้ยสัญญาเพิ่มเติมด้วย • สัญญาเพิ่มเติมประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลาเป็นสัญญาเพิ่มเติมที่เหมือนกับประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา ในกรณีที่เราต้องการเพิ่มวงเงินคุ้มครองประกันชีวิตในช่วงเวลาหนึ่ง เช่นผู้เอาประกันต้องไปทำงานต่างประเทศเป็นเวลา 1 ปี จึงอยากเพิ่มวงเงินคุ้มครองในช่วงเวลานี้เมื่อเราได้ทราบถึงสัญญาเพิ่มเติมว่ามีอะไรบ้างไปแล้ว ทีนี้เรามาดูว่าความแตกต่างระหว่างสัญญาหลักกับสัญญาเพิ่มเติมกันบ้างว่ามีอะไรบ้าง1. สัญญาหลักที่ไม่ใช่แบบชั่วระยะเวลาจะมีมูลค่ากรมธรรม์ แต่สัญญาเพิ่มเติมจะไม่มีมูลค่ากรมธรรม์หรือพูดง่ายๆคือ สัญญาเพิ่มเติมถ้าไม่มีการเคลมจะไม่มีเงินคืนนั่นเอง2. สัญญาหลักเบี้ยจะเท่ากันทุกปีจนครบสัญญา แต่สัญญาเพิ่มเติมจะมีการปรับเบี้ยตามอายุที่สูงขึ้น3. สัญญาหลักเป็นสัญญาระยะยาว แต่สัญญาเพิ่มเติมจะเป็นสัญญาแบบปีต่อปี ถ้าปีไหนไม่ต้องการทำสามารถยกเลิกได้จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นจะเห็นว่าสัญญาเพิ่มเติมช่วยเพิ่มความคุ้มครองในส่วนที่เราต้องการเพิ่มจากสัญญาหลักในหลายๆรูปแบบ สิ่งที่อยากเน้นย้ำคือสัญญาเพิ่มเติมเป็นสัญญาแบบปีต่อปี ถ้าปีไหนไม่ต้องการทำก็สามารถยกเลิกได้ แต่ข้อควรระวังคือในกรณีถ้าเรายกเลิกไปแล้วเราอยากกลับมาทำใหม่บริษัทประกันอาจจะมีการพิจารณาการรับประกันใหม่เช่น สัญญาเพิ่มเติมประกันสุขภาพอาจจะต้องมีการตรวจร่างกายใหม่และถ้าเราเกิดสุขภาพไม่ดี มีโรค บริษัทประกันอาจไม่รับหรือยกเว้นโรคที่เราเป็นใหม่ได้ ดังนั้นก่อนที่เราจะทำสัญญาเพิ่มเติมหรือถ้าทำแล้วจะยกเลิกเราควรพิจารณาถึงความพร้อมในการจ่ายเบี้ยและความเสี่ยงของเราให้ดีก่อนตัดสินใจ เพื่อให้ทุกกรมธรรม์ที่เราได้ทำ ตอบโจทย์ความต้องการของเราได้แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับnoon bloghttps://www.noon.in.th/blog/what-is-rider/
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ข่าวการเงิน
30/04/2024
“เก็บเงินซื้อบ้าน” น่าจะเป็นท็อปลิสต์แห่งปีของใครหลายคน ที่พร้อมตั้งเป้าหมายเพื่อเป็นของขวัญชิ้นใหญ่ให้ชีวิต โดยเฉพาะกลุ่มคนรุ่นใหม่เริ่มมีการพูดคุย แลกเปลี่ยน วางแผนการใช้ชีวิตกันมากขึ้นเรื่อย ๆ เริ่มมองไปถึงอนาคตของการมีบ้านเป็นของตัวเอง แต่ด้วยยุคเศรษฐกิจในปัจจุบันที่เงินทองหายาก ข้าวของแพงขึ้น จึงทำให้หลายคนมองว่าการออมเงินเพื่อให้ได้มาซึ่งบ้านในฝันและอนาคตที่มั่นคง จึงเป็นเรื่องยาก GEN HEALTHY LIFE ได้รวบรวม 7 ทริค “ออมเงินซื้อบ้าน” สานฝันให้เป็นจริง วิธีแรก เริ่มจากเคลียร์หนี้(สิ้น) หากอยากขออนุมัติสินเชื่อแบบไม่ยาก เครดิตทางการเงินจึงเป็นสิ่งสำคัญ เพราะฉะนั้นมองย้อนกลับมาดูที่หนี้สินของเราดูว่า ตอนนี้มีภาระอยู่เท่าไหร่ และวางแผนพยายามเคลียร์หนี้สินก้อนนั้นให้หมดสิ้นโดยเร็ว เมื่อไม่มีพันธะผูกมัดเกี่ยวกับหนี้แล้ว แน่นอนว่าเครดิตการขออนุมัติสินเชื่อกับธนาคารก็จะผ่านได้อย่างง่ายดาย ต่อมา ใช้ประโยชน์จากโครงการที่อยู่อาศัยในราคาที่จับต้องได้ งบประมาณในการซื้อบ้านถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สำคัญลำดับต้น ๆ แต่รู้หรือไม่ว่า การลงทุนกับบ้านหลังแรกนั้นค่อนข้างมีข้อได้เปรียบสูง อาทิ ได้รับอัตราดอกเบี้ยการผ่อนที่ต่ำ การพิจารณาอนุมัติสินเชื่อง่าย และได้เปรียบในการต่อรองจากโครงการในการขอสิทธิพิเศษ เป็นต้น และ ตั้งเป้าหมายที่เป็นจริง โปรดจำไว้ว่าบ้านหลังแรก ไม่ได้มีเพียงแค่ค่าผ่อนบ้าน ยังมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อีกมากมาย ทั้งค่าส่วนกลาง ค่าตกแต่ง ค่าประกัน ค่าดูแลรักษา ดังนั้น การตั้งเป้าหมายให้เป็นจริงได้นั้นจำเป็นต้องวางแผนทางการเงินให้ครอบคลุม เพื่อให้แน่ใจว่าเราสามารถทำตามเป้าหมายนั้นได้จริง และจะทำให้เกิดแรงผลักดันในการไปถึงเป้าหมายได้สำเร็จ ดังนั้นเมื่อได้บ้านในฝันแล้ว ก็เข้าสู่การวางแผนทางการเงิน เริ่มจาก หักเงินออมอัตโนมัติ ด้วยการแบ่งเงินจากรายรับต่อเดือนออกเป็นกอง เช่น กองเงินออม กองค่าใช้จ่ายประจำวัน กองค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน เป็นต้น เพราะการเงินออมแต่ละกองนั้นจะช่วยให้สถานะทางการเงินสมดุลมากยิ่งขึ้น ข้อถัดมา คือ จัดทำงบประมาณและลดค่าใช้จ่าย ในทุกช่วงต้นเดือนการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย จะทำให้ทราบว่าค่าใช้จ่ายหลัก ๆ ของเราแต่ละเดือนนั้นหมดไปกับค่าอะไรบ้าง ปัจจุบันนี้มีแอปพลิเคชันที่จะช่วยให้เราคำนวณรายจ่ายของแต่ละเดือนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งการจัดทำงบประมาณแต่ละเดือนจะทำให้เห็นค่าใช้จ่ายที่แท้จริงและสามารถจัดการได้ถูกวิธี ต่อมาเพื่อให้ไปถึงฝันได้เร็วขึ้นจำเป็นต้อง หางานเสริม ในยุคที่ข้าวยากหมากแพง ส่งผลให้การประกอบอาชีพเดียวไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายที่เพิ่มสูงมากขึ้นทุกวัน เพราะฉะนั้นการหาอาชีพเสริมจึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่จะช่วยเพิ่มรายได้อย่างดีที่สุด สุดท้าย ขายสิ่งของที่มีอยู่ ขายของเพื่อเพิ่มรายได้ หากมีสิ่งของที่ไม่ต้องการใช้แล้ว เราไม่ควรทิ้งไว้อย่างเปล่าประโยชน์เพราะสามารถนำมาแปลงให้เป็นเงินสดได้ ไม่ว่าจะเป็น รถคันเก่า กระเป๋าใบเก่า หรือแม้แต่สิ่งของเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่สามารถขายเพื่อแลกเปลี่ยนเป็นเงินได้ การเก็บออมเงินเพื่อซื้อบ้านหลังแรกนั้น ควรค่อยเป็นค่อยไปอย่ารีบร้อนเหมือนการวิ่งแข่งขันระยะสั้น เพราะหากทำแบบนั้นจะทำให้เราเหนื่อยง่าย ท้อเร็ว ลองนำ 7 ทริคนี้ไปปรับใช้ดู นอกจากจะได้บ้านหลังใหม่แล้ว ยังมีวินัยทางการออมเพิ่มขึ้นด้วย สำหรับใครที่ต้องการศึกษาเคล็ดลับในการออมเงิน หรือ บทความที่เป็นประโยชน์อื่น ๆ อีกมากมาย สามารถเข้าไปติดตามบทความดี ๆ ได้ที่ Gen Healthy Life แหล่งที่มาข่าวต้นฉบับประชาชาติธุรกิจออนไลน์ https://www.prachachat.net/prachachat-wealth/news-1174892
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
ประกันสุขภาพ
30/04/2024
โดยปกติแล้วพนักงานบริษัทจะได้รับสวัสดิการประกันกลุ่มที่คุ้มครองด้านสุขภาพและอุบัติเหตุอยู่แล้ว แต่บางครั้งอาจมีเหตุทำให้ค่ารักษาพยาบาลไม่เพียงพอและครอบคลุมค่าใช้จ่ายทั้งหมดจนทำให้เราต้องควักเงินส่วนตัวออกมาบ้าง จะดีกว่าไหมหากวันนี้เราตัดสินใจซื้อประกันสุขภาพเพิ่มจากสวัสดิการ เพราะอย่างน้อยหากเกิดเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงที่ต้องใช้เงินรักษาเป็นจำนวนมากก็ยังมีประกันที่คอยช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่าย เนื่องจากประกันสุขภาพส่วนใหญ่ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล ค่าห้อง ค่ายา ค่าแพทย์ และค่าอุปกรณ์อื่น ๆวันนี้เราเลยขออาสามารวบรวม 5 เทคนิคในการเลือกประกันภัยสุขภาพให้คุ้มค่าแบบฉบับมนุษย์เงินเดือน รับรองได้เลยว่าไม่ว่าจะสถานการณ์ไหนคุณก็สามารถอุ่นใจได้อย่างเต็มที่เลย1. วงเงินความคุ้มครองเทคนิคแรกของการเลือกประกันสุขภาพก็คือ การเลือกวงเงินความคุ้มครองที่เหมาะสมกับความต้องการของตนเอง โดยอาจเช็กก่อนว่าสวัสดิการด้านค่ารักษาพยาบาลที่ได้รับจากประกันกลุ่มของบริษัทเดิมครอบคลุมเท่าไหร่ แล้วค่อยพิจารณาเลือกแผนประกันสุขภาพเพื่อมาเติมเต็มส่วนที่ขาด เพื่อให้สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระดับที่เหมาะสมกับบริการทางการแพทย์ที่ต้องการยกตัวอย่างเช่น หากมีอาการเจ็บป่วยและต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลทั้งหมด 100,000 บาท แต่ประกันกลุ่มมีวงเงินคุ้มครองเพียง 30,000 บาท หมายความว่าส่วนต่างที่เหลืออีก 70,000 บาท เราต้องเป็นคนออกเอง ซึ่งถือว่าเป็นเงินที่ค่อนข้างสูงและอาจกระทบต่อการใช้จ่ายในเดือนนั้นๆ ได้ แต่หากคุณมีประกันสุขภาพเพิ่มเติม สามารถนำมายื่นเพื่อหักจากส่วนต่างที่เหลือตามวงเงินความคุ้มครองได้เลย2. ประเมินความเสี่ยงสุขภาพส่วนตัวสิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับถัดมาก็คือ การเช็กและประเมินร่างกายตนเองว่ามีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงหรือไม่ โดยอาจเริ่มจากการตรวจสอบโรคทางกรรมพันธุ์ของคนในครอบครัว อาทิ โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน หรือโรคธาลัสซีเมีย เป็นต้น รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันของตนเองที่อาจเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายแรง เช่น การดื่มสุรา หรือ สูบบุหรี่ อย่างเป็นประจำซึ่งสำหรับพนักงานออฟฟิศอาจเสี่ยงเป็นโรคออฟฟิศซินโดรม ความเครียด หรือโรคอื่น ๆ ที่ยังอยู่ในระยะเริ่มต้น ดังนั้นหากทำประกันสุขภาพในช่วงอายุนี้ ราคาเบี้ยอาจจะไม่ได้สูงเท่าช่วงอายุที่มากขึ้น เนื่องจากประสุขภาพแต่ละฉบับให้ความคุ้มครองที่ครอบคลุมไม่เหมือนกัน หากคุณรู้ว่าตนเองมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคร้ายแรงในอนาคต ก็ซื้อประกันสุขภาพที่ครอบคลุมโรคนั้นตั้งแต่เนิ่น ๆ เอาไว้ด้วยเลย3. เบี้ยประกันสุขภาพที่เหมาะสมหลังจากที่เช็กแล้วว่าตนเองมีสวัสดิการอะไรบ้าง และมีความเสี่ยงในการเกิดโรคร้ายแรงหรือไม่ สิ่งที่ต้องทำเป็นอันดับถัดมาเลยก็คือ การพิจารณาจากเบี้ยประกัน หรือเงินที่เราจ่ายให้บริษัทประกันเพื่อรับความคุ้มครอง โดยอาจคำนึงถึงงบประมาณของตนเองก่อนว่าสามารถชำระได้มากน้อยเพียงใด สะดวกชำระแบบรายเดือน หรือรายปี เพื่อไม่ให้กระทบต่อการเงินของตนเองมากจนเกินไป ซึ่งค่าเบี้ยประกันภัยสุขภาพที่เหมาะสมควรจ่ายไม่เกิน 10-15% ของรายได้รวมทั้งปี4. การคุ้มครองแน่นอนว่าสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามและต้องให้ความสำคัญอย่างละเอียดเลยก็คือ ความคุ้มครองของแผนประกัน โดยประกันสุขภาพที่ดีควรคุ้มครองทั้งในผู้ป่วยภายใน (IPD) ที่รักษาในโรงพยาบาลไม่น้อยกว่า 6 ชั่วโมง และผู้ป่วยนอกที่ไม่ได้นอนพักฟื้นในโรงพยาบาล (OPD) เช่น การเกิดอุบัติเหตุเล็กน้อย ไข้หวัด หรือโรคตามฤดูกาลที่สามารถรับยาและกลับไปรักษาตัวที่บ้านได้ นอกจากนี้ควรเลือกความคุ้มครองสุขภาพแบบเหมาจ่ายที่ไม่จำกัดค่ารักษาพยาบาล ซึ่งจะครอบคลุมค่ารักษาทั้งอาการเจ็บป่วยเล็กน้อย ตลอดไปจนถึงโรคร้ายเเรงนั่นเอง5. โรงพยาบาลที่รักษาได้เทคนิคสุดท้ายที่ต้องศึกษาก่อนตัดสินใจเลือกแผนประกันภัยสุขภาพเลยก็คือ โรงพยาบาลที่สามารถรักษาได้ โดยเราแนะนำให้เลือกซื้อประกันที่มีโรงพยาบาลในเครือข่ายหลากหลายพื้นที่ เพื่อสามารถเข้ารักษาและใช้ในการเรียกร้องค่าสินไหมกับบริษัทประกันได้ทุกเมื่อในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินนอกจากนี้อาจพิจารณาเลือกแผนประกันที่ให้สิทธิกับผู้ถือกรมธรรม์เบิกค่ารักษาพยาบาลได้ทันที โดยที่ไม่ต้องสำรองจ่าย เพราะบางครั้งค่ารักษาอาจมีจำนวนสูงและกระทบต่อการเงินของคุณได้ทั้งหมดนี้ก็เป็น 5 เทคนิคในการเลือกซื้อประกันสุขภาพอย่างไรให้คุ้มค่าที่พนักงานมนุษย์เงินเดือนสามารถนำไปพิจารณาเบื้องต้นก่อนตัดสินใจเลือกซื้อแผนประกันจากบริษัทต่างๆ เพื่อความเหมาะสมกับความต้องการของตนเองอย่างสูงสุด เพราะการทำประกันสุขภาพก็เปรียบเสมือนการมีหลักประกันความมั่นคงในอนาคตที่เราไม่ควรมองข้าม และควรทำไว้ตั้งแต่อายุยังน้อยนั่นเองขอบคุณข้อมูลจาก TQM ประกันสุขภาพแหล่งที่มาข่าวต้นฉบับผู้จัดการออนไลน์https://mgronline.com/celebonline/detail/9650000123324
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติม
29/04/2024
30/04/2024
12/04/2024
16/08/2024
20/08/2024